วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วัดทองทั่วเป็นวัดเก่าแก่ของจันทบุรี




วัดทองทั่ว
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจังหวัดไปทางทิศตะวันออกไป 5 กิโลเมตร
มีตำนานเรื่องราวก่อนสร้างวัด ก็คือ สมัยก่อนมีวัดอยู่วัดหนึ่งอยู่ห่างจากวัดทองทั่วไปทางทิศใต้ราว 400 เมตร ชื่อว่า วัดเพนียด ต่อมาวัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้าง และต่อมาได้สร้างวัดขึ้นใหม่ ชื่อว่า วัดทองทั่ว ซึ่งชื่อวัดมาจากตำนานเมืองกาไว ที่ว่าพระนางกาไวจะหนีแล้วหว่านทองไปทั่วเพื่อให้ทหารฝ่ายศัตรูมัวพะวงเก็บทองจะหนีได้สะดวก
ประวัติการสร้างวัดทองทั่วไม่มีหลักฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าอาจสร้างในยุคที่เมืองจันทบุรียังตั้งอยู่ในแถบนี้ สร้างโดยเจ้าผู้ครองนคร องค์ใตองค์หนึ่ง  
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่
ใบเสมา เป็นหลักเขตแดนที่พรเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานที่ถวาย สำหรับให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรม เช่น ลงพระอุโบสถ  ฟังพระปาฏิโมกข์ อุปสมบท กรานกฐิน ตามหลักของพระธรรมวินัยสงฆ์ ใบเสมารอบพระอุโบสถหลังเก่าของวัดทองทั่วเป็นใบเสมาคู่ ซึ่งในจันทบุรีมี 2 วัดที่มีใบเสมาคู่ คือ วัดทองทั่ว และ วัดกลาง ลักษณะใบเสมาคู่เป็นศิลปะจัดอยู่ในสมัยอยุธยา หรือ อาจเป็นศิลปะศรีวิชัย ในใบเสมามีดอกบัว 2 ดอก แยกออกซ้ายขวา



 อุโบสถหลังเก่า กรมการศาสนาออกหนังสือสภาพวัด ได้ตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2318 อยู่ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร และศิลปะโครงสร้างเดิมก็เป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา  ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง) เป็นพระประธาน

หน้าพระอุโบสถหลังเก่า

สิงห์ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า

ภายในพระอุโบสถหลังเก่า

พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง)

เจดีย์  ภายในวัดมีเจดีย์อยู่ 2 องค์ รูปทรงลังกาเป็นรูปลักษณะที่นิยมในสมัยอยุธยา จึงสันนิษฐานว่า เจดีย์องค์แรก น่าจะสร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างวัด ซึ่งมีนางก๋วย เป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์สมัยพระอุปัชณาจี๊ด จันทสาโร
ส่วนอีกองค์ สร้างโดยนางขาว เอครพานิช องค์นี้สร้างในสมัยพระอุปัชณาจี๋ด จันทสาโร  เจดีย์องค์นี้คนแก่เล่าให้ฟังว่า ตอนที่ท่านยังเป็นเด็กจะเห็นเจดีย์แต่ไกล เพราะที่ปลายยอดเจดีย์มีลูกแก้วติดอยู่เวลาพระอาทิตย์ส่องจะสะท้อนแสงแวววาว และจะเห็นเจดีย์ขาวทั้งองค์เพราะในสมัยนั้นไม่ค่อยมีต้นไม้ ส่วนมากจะเป็นทุ่งนาและสถานที่ตั้งวัดเป็นที่ดอน

เจดีย์องค์แรก



เจดีย์องค์ที่สอง


ธรรมาสน์ 
ใช้สำหรับแสดงพระธรรมเทศนา สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2467 ในสมัยพระครูโสภณสมณวัตร (ท่านพ่อฟู โสรโต)   ผู้สร้างคือนายรุนผัว เสมพัณญา และ นายมันผัว แดงไคร้เมีย เป็นไม้สักทั้งหลังแกะสลักลวดลายงดงาม กรมศิลปากรได้ขึ้นเป็นโบราณวัตถุ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2537


ตู้พระไตรปิฎก    ตู้พระไตรปิฎกมีลายรดน้ำปิดทอง ลักษณะทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เรียกว่า ตู้พระไตรปิฎก หรือตู้พระธรรมมีชั้นวางหนังสือได้  2 ชั้น 

หีบเก็บรักษาคัมภีร์ เป็นหีบคัมภีร์ขนาดใหญ่ รูปลักษณะสี่เหลี่ยมคางหมู ปากกว้างแล้วสอบลงล่าง มีขาตั้งในตัว มีฝาหีบที่แกะสลักลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และมีลายเทพพนม เป็นฝึมือช่างในสมัยอยุธยา มีความเก่าแก่กว่าตู้พระธรรมลายทอง อายุประมาณราว 300  ปี ปัจจุบันฝาปิดด้านบนได้หายไป และส่วนฐานด้านล่างได้ถูกปลวกกัดกิน
หีบพระธรรมหรือหีบพระมาลัย เป็นหีบสำหรับใส่หนังสือพระอภิธรรมและพระมาลัย เวลามีงามศพนำไปตั้งบูชาตอนพระสงฆ์สวด เรียกว่า พระสวดพระอภิธรรม เมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว ชาวบ้านที่จะอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพ ก็จะนำหนังสือเล่มนี้มาสวดกันเรียกว่า สวดพระมาลัยในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงมนุษย์ตอนยังมีชีวิตอยู่ได้ทำบาปกรรมต่างๆ เมือตายก็ต้องไปเสวยผลบาปกรรมที่ทำไว้ จะสวดเป็นภาษาไทยร้อยกรอง เป็นทำนองที่ไพเราะ หีบพระธรรมนี้เป็นฝีมือช่างยุดตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใบหนึ่งเป็นลายรดน้ำปิดทองกนกเปลวเพลิง มีรูปเทวดา 3 องค์ อีกใบเป็นรูปเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นลายรดน้ำปิดทอง อายุประมาณ 200  ปี

สิงห์อยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า เป็นศิลปะขอมในสมัยก่อนฝังในดิน สร้างในสมัยเมืองโบราณ มีประมาณ 4  -  8  ตัว ปัจจุบันเหลือแค่ตัวเดียว  และสิงห์ตัวนั้มีเรื่องเล่าของชาวบ้านสมัยก่อนว่าเป็นสิงห์ที่ดุร้ายชอบออกอาละวาดมาเหยียบต้นข้าวที่ชาวบ้านปลูกไว้เสียหายเป็นประจำ  ในสมัยโบราณตอนสร้างใต้ท้องสิงห์ไม่ได้มีรู แต่คราวที่ฝรั่งเศสมายึดเมืองจันทบุรีและได้ยินที่ชาวบ้านบอกถึงตำนานที่สิงห์ออกอาละวาดจึงเอาปืนยิงไปใต้ท้องสิงห์เพื่อพิสูจน์ว่าใต้ท้องสิงห์มีสิ่งใดซ่อนอยู่หรือไม่


วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เจดีย์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช


เจดีย์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช






วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวัดอารามหลวงชั้นเอก ขั้นบรมวรมหาวิหาร 

มีตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพาน เมืองต่างๆ ในชมพูทวีป ได้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเคารพบูชา ซึ่งเมืองทนธบุรีได้พระทันตธาตุเก็บไว้บูชา ต่อมากษัตริย์เมืองอื่นยกทัพมาขอแบ่งพระทันตธาตุ  กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเกรงว่าจะรักษาเมืองไม่ได้ จึงให้พระนางเหมชาลาและเจ้าชายธนกุมารอัญเชิญลงเรือหนีไปลังกา แต่เรือกำปั่นได้ถูกพายุพัดเรือแตก น้ำซัดทั้งสองพระองค์ มา ณ หาดทรายแก้ว  เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลาและบาดู (แปลวา นักบวช) ชาวลังกา นำพระทันตธาตุส่วนหนึ่งเก็บประดิษฐานไว้ในเจดีย์องค์เล็กๆ มีศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย ในปี พ.ศ. 854 และอีกส่วนหนึ่งพระนางเหมชาลาและเจ้าชายธนกุมารได้อัญเชิญกลับไปลังกา


ต่อมาเมื่อ พ.ศ.  1093  ในสมัยของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  (พระเจ้าจันทรภานุ) สร้างเมืองนครศรีธรรมราช  ได้ทรงสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นทรงศาญจิ
และในปี พ.ศ. 1770  พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้มีการนิมนต์พระภิกษุชาวลังกามาตั้งคณะสงฆ์และบูรณะพระบรมธาตุเป็นเจดีย์แบบทรงลังกา  พระสถูปเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ หรือ โอคว่ำ ถัดขึ้นไปมีฐานสี่เหลี่ยมรองรับส่วนยอด เสาที่อยู่แต่ละด้านของฐานมีพระพุทธรูปปูนปั้นประดับอยู่ 4 ด้าน ส่วนเสาแต่ละมุมของฐานมีรูปปั้นพระสาวรกเดินจงกรมติดประจำเสา ทั้ง  4 มุม  ส่วนถัดขึ้นไปของยอดนี้มีปล้องไฉน   52  ปล้อง  แล้วมีบัวคว่ำบัวหงายรับปลียอดซึ่งหุ้มด้วยทองคำแผ่เป็นแผ่นหนาเท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (960 กิโลกรัม) สูง 6 ศอก (2 เมตร) 1 วา(0.50  เมตร)  รอบพระสถูปมีลานประทักษิณ  และมีเจดีย์ประดิษฐาน 158 องค์ รอบองค์พระมหาธาตุ

เมื่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์เสร็จจะมีงานพีธีสมโภชพระบรมธาตุ ที่ชายหาดปากพนัง ชาวบ้านปากพนังได้พบผ้าแถบยาวผืนหนึ่งที่ถูกคลื่นซัดมา ในผ้าแถบนี้มีภาพเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านจึงนำไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์รับสั่งให้ซักผ้าผืนนั่นจนสะอาดจนเห็นภาพพระพุทธประวัติชัดเจน เรียกกันว่า ผ้าพระบฎ  และรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ จนได้ความว่าชาวพุทธชาวหงสากลุ่มหนึ่ง  จะนำผ้าพระบฎไปบูชาพระพุทธบาทที่ศรีลังกา แต่เรือได้เจอกับพายุมีผู้รอดชีวิต 10 คน และผ้าก็ถูกน้ำซัดมาติดชายหาดที่ปากพนัง  ดังนั้นพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงมีความเห็นว่า ควรนำผ้าพระบฎไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโพชพระบรมธาตุ  เจ้าของผ้าพระบฎก็มีความยินดีถวายผ้า  การห่มผ้าพระบรมธาตุจึงเป็นประเพณีสืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่ห่มพระบรมธาตุ แต่เดิมการห่มพระบรมธาตุทำปีละ  2 ครั้ง คือ ในวันมาฆบูชา ขึ้น 15  ค่ำ เดือน 3 และในวันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  แต่ในปัจจุบันการห่มพระบรมธาตุทำในวันมาฆบูชา ขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 สีที่นิยมมี สีแดง สีขาว และสีเหลือง ความยาวขึ้นอยู่กับความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน













 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองพระยามหานคร  มีหัวเมืองใหญ่น้อยอยู่ในการปกครอง สมัยก่อนเมืองนครศรีธรรมราชถูกเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร เพราะใช้เครื่องหมายรูปสัตว์ตามจักรราศี  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเมืองนครศรีธรรมราชยังมีชื่อเสียงในเรื่องการทำเครื่องถม อีกด้วย


อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ จันทบุรี



อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอมะขามและอำเภอเขาคิชกูฏ ประกอบด้วยภูเขาและทิวทัศน์ที่สวยงาม มียอดเขาพระบาทเป็นภูเขาสูงสุด สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,085 เมตร และเป็นแหล่งต้นน้ำและลำธารที่สำคัญของจันทบุรี  เช่น  คลองกระทิง คลองตะเคียน คลองทุ่งเพล คลองพลวง เป็นต้น ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่  14 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 มีขนาดพื้นที่ประมาณ  58.31  ตารางกิโลเมตร
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
น้ำตกกระทิง ป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจันทบุรี ซึ่งแหล่งต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาคิชกูฏ มีทั้งหมด 13 ชั้น ชั้นที่ 8 เป็นชั้นที่สวยที่สุด น้ำตกกระทิงอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ เพียง 100 เมตร บริเวณใกล้น้ำตกมีอ่างเก็บน้ำ มีกิจกรรมพายเรือและจักรยานให้บริการ มีสถานที่กางเต็นท์

ยอดเขาพระบาทหรือยอดเขาคิชกูฏ บนยอดเขามีรอยพระบาทปรากฏอยู่บนหินก้อนใหญ่ ถือเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา เป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชน ช่วงเวลาที่เปิดให้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทอยู่ในช่วง ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ถึง แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี อยู่ห่างจากพื้นที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ  16.5 กิโลเมตร



น้ำตกช้างเซ น้ำตกมี 3 ชั้น สายน้ำไหลแรงจากหน้าผาสูงชัน บริเวณรอบน้ำตกเป็นป่าดิบชื้นปกคลุมหนาทึบ น้ำตกอยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาพระบาท ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 12 กิโลเมตร คือเดินทางโดยรถยนต์ 10 กิโลเมตร และเดินเท้าอีก 2 กิโลเมตร


น้ำตกคลองไพบูลย์  ขึ้นตรงต่ออุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ เป็นน้ำตกมีลำธารกว้างเหมาะแก่การลงเล่นน้ำ ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ เพียง 8 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกมีที่ให้กางเต็นท์ พักแรม










อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ  โทร. 039-452-074

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ร้านก๋วยเตี๋ยวลุงจู๊ ก๋วยเตี๋ยวไข่สูตรโบราณ ที่จันทบุรี




ด้านหน้าร้าน ลุงจู๊
ร้านก๋วยเตี๋ยวลุงจู๊  สูตรโบราณนี้ตั้งอยู่ตำบลบางกะจะ อ.ท่าใหม่ ใกล้สถานที่ท่องเีที่ยวค่ายเนินวง อายุของร้านนี้ไม่มากไม่มาย เปิดขายมามากกว่า 60 ปี ตั้งแต่ลุงจู๊ยังหนุ่มๆ จนมรดกร้านนี้ตกสู่รุ่นลูกเปิดขายต่อจากลุงจู๊ ไม่มีสาขานะคะ เส้นก๋วยเตี๋ยวมีให้เลือกทั้งเส้นเล็ก เส้นใหญ่ วุ้นเส้น หมี่เหลือง หมี่ขาว ที่เด็ดที่สุดคือเกี๊ยวปลาเนื้อแป้งบางไส้เกี๊ยวปลาอัดแน่นไปด้วยเนื้อเต็มๆ  ไข่ที่ใส่กินกับก๋วยเตี๋ยว ทางร้านจะนำไปตอกใส่ตะกร้อลวกเส้นแล้วนำไปต้มในหม้อก๋วยเตี๋ยวให้พอสุกไข่แดงเป็นยางมะตูม เวลากินกับก๋วยเึีตี๋ยวตัดไข่ยางมะตูมแล้วไปรวมกับน้ำซุปตัำกเข้าปากแล้วสุดยอดแห่งความอร่อย  ถ้าอยากลองลิ้มชิมรสชาติก๋วยเตี๋ยวลุงจู๊เชิญได้นะคะ เปิดขายทุกวัน(ยกเว้นวันตรุษจีนและวันเชงเม้งร้านหยุด) ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.


เกี๊ยวปลาต้มยำใส่ไข่ 
 

วุ้นเส้นต้มยำใส่ไข่



เส้นใหญ่ต้มยำ


เส้นหมี่ขาวต้มยำ
เส้นเล็กต้มยำ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี







พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี  จันทบุรี
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 กรมศิลปากรได้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทางด้านโบราณคดีใต้น้ำ  ได้มีการดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ แต่ละแห่งในท้องทะเลไทย  ทำให้มีจำนวนโบราณวัตถุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำงานโบราณคดีใต้น้ำ และประวัติศาสตร์การพิชย์นาวีของไทย อีกทั้งได้มีงานที่จับกุมชาวต่างชาติที่เข้ามาทำการลักลอบงมโบราณวัตถุใต้ทะเลฝั่งอ่าวไทย ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่พบจากท้องทะเล  ซึ่งโบราณวัตถุที่ค้นพบนี้เป็นหลักฐานที่ช่วยในการสืบค้นความเป็นมา และบอกเล่าเรื่องราวทางเศรษฐกิจการพาณิชย์นาวีของไทยในอดีต

แหล่งทึ่ค้นพบโบราณคดีใต้น้ำที่สำคัญของจันทบุรี อยู่ในอ่าวบางกะไชย อ.แหลมสิงห์ ได้ค้นพบซากเรือสำเภาโบราณ 2 ลำ  อยู่ในระดับลึก 8 เมตร ห่างจากฝั่ง 2 กิโลเมตร ซากเรือสำเภาถูกค้นพบเมื่อเดือนธันวาคม  พ.ศ.  2534 และทำการขุดค้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536  ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537
ในตัวเรือพบโบราณวัตถุจำนวนมาก มัทั้งที่เป็นสินค้าบรรทุกมาในระวางเรือ เป็นก้อนทองแดง-ดิบ ไม้แดงที่ใช้สำหรับย้อมสี หมากดิบและข้าวของเครื่องใช้ประจำเรือ ได้แก่ เครื่องถ้วยลายครามของจีน เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณที่แม่น้ำน้อย สิงห์บุรี จากแหล่งเตาเผาโบราณที่บ้านบางปูน สุพรรณบุรี และแหล่งเตาปะขาวหาย พิษณุโลก นอกจากนั้นยังมีเครื่องใช้ประเภทก้างปลา เปลือกไข่ ฯลฯ
อายุของซากเรือได้เปรียบเทียบกับเครื่องถ้วยจีนที่พบในซากเรือ  จัดอยู่สมัยพระเจ้าหวั่นหลีแห่งราชวงศ์ เหม็ง(พ.ศ. 2115-2163) และตัวอักษรจีนที่พบบนเครื่องคันชั่งเป็นปีจอในรอบนักษัตรของจีนตรงกับปี พ.ศ. 2153  ตรงกับสมัยรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถของไทย



การจัดตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวีของจันทบุรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2544

ภายในห้องพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวร 6 ห้อง ดังนี้
1.ห้องจัดแสดงสินค้าและวิถีชีวิตชาวเรือ จัดแสดงเกี่ยวกับการพาณิชย์ในสมัยโบราณ เส้นทางการเดินเรือ เมืองท่าโบราณสินค้า โดยใช้เรือสำเภาจำลองขนาดเท่าของจริง จำลองสภาพสินค้า ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ในเรือ มีการจัดแสดงของมีค่า เช่น จี้ทองคำฝังพลอยแดง และกำไรทองคำ ซึ่งพบจากแหล่งบริเวณซากเรือที่จมในบริเวณอ่าวไทย

ด้านหน้าหัวเรือ จะเขียนรูปราหู เพราะเขามีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจ เรือที่จัดแสดงมีขนาดเท่าของจริง

ตาของเรือสำเภาสำหรับการเดินเรือสำหรับขนส่งสินค้า ตาจะมองไปข้างหน้า  ถ้าตาของเรือประมงจะมองลงล่าง ส่วนตาของโจรสลัดตาอีกข้างหนึ่งจะคาดตาไว้


ปืนใหญ่ที่อยู่ในเรือสำเภาจะมีแค่ 3 กระบอก สำหรับลำขนาดนี้

สินค้าที่ไว้ในท้องเรือ

พวกไห 4 หู และเครื่องถ้วยชามที่จะขนส่ง วัตถุที่แสดงเป็นของจริง

ที่นอนสำหรับลูกเรืออยู่ใตท้องเรือ

จุ่นจู๊ เป็นตำแหน่งกัปตันของเรือสำเภา ไม่ไช่ไต๊ก๋ง ซึ่งใต๊ก๋งจะเป็นคนบังคับหางเสืออยู่ท้ายเรือ

การทำอาหารบนเรือ

คนงานแบกของบนเรือ

คนงานที่ทำหน้าที่กางใบเรือ

ด้านท้ายเรือมีชื่อเรืออยู่ ชื่อบรรพวิน  ชื่อนี้แล้วแต่เจ้าของเรือจะตั้ง


2.ห้องแนะนำปฏิบัติการโบราณใต้น้ำจัดแสดงเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานของงานโบราณคดีใต้น้ำโดยจำลองสภาพจริงของแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ วิธีการทำงาน ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริง




3.ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ จัดแสดงให้เห็นถึงการเก็บรักษาโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์โดยบางส่วนของห้องคลังเป็นผนังกระจกทำให้ผู้เข้าชมได้มองเห็นการจัดเก็บโบราณวัตถุภายในห้องคลังได้
4.ห้องแสดงเรือและชีวิตชาวเรือ จัดแสดง ชนิด และแบบของเรือต่างๆ ที่มีใช้ในประเทศไทยโดยการใช้เรือจำลองย่อส่วนตามจริง








5.ห้องแสดงของดีเมืองจันทบุรี  จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจันทบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ การก่อตั้งเมือง เหตุการณ์สำคัญและเรื่องราวของชาวพื้นเมืองของจันทบุรี นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ รวมทั้งของดีมีชื่อเสียงของจันทบุรี

พลอยของดีเมืองาจันท์

เสื่อจันทบูรของดีเมืองจันท์

6.ห้องบุคคลสำคัญ จัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับการทำสงคราม เมื่อคราวเสียกรุงอยุธยา ครั้งที่ 2 รวมทั้งเส้นทางการเดินทัพเมื่อคราวพระเจ้าตากสินมารวมพลที่จันทบุรี เพื่อเชิดชูพระมหาวีรกรรมของพระองค์
การจัดแสดงเข้าตีเมืองของจันท์ของพระเจ้าตากสิน

การจัดแสดงที่เข้าตีที่ค่ายโพธิ์สามต้น

การจัดแสดงเรือกลับอยุธยาเพื่อกู้เอกราช
การขุดเรือทำจากต้นตะเคียนเมื่อได้แบบที่ต้องการแล้วจะเอาฟางมาสุมไว้ตรงกลางเพื่อขยายตัวเรือให้ได้ตามต้องการ

การเล่นหมากขุม

ถ้าผู้เข้าชมมีเวลาพอก็นั่งเล่นเกม หมากขุม ฝึกสมองและนั่งพัก
เป็นกีฬาพื้นเมืองประเภทกีฬาในร่ม นิยมเล่นกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา วิธีการเล่นก็แตกต่างกันออกไป หมากขุมนิยมเล่นกันที่ภาคใต้ของประเทศไทย ชาวใต้ เรียกว่า "หมากขุม" หรือ "หมากหลุม"  เป็นกีฬาที่แข่งความสามารถเฉพาะตัว ช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกสมอง ฝึกการคิดคำนวณและช่วยสร้างความคุ้นเคยกัน
อุปกรณ์หมากขุมและลูกหมากขุม นิยมใช้เมล็ดสวาด ซึ่งมีลักษณะกลมรี เปลือกแข็งมีสีเทาเจือเขียว อาจใช้เมล็ดพืชอย่างอื่นที่มีขนาดและลักษณะใกล้เคียงกันได้ เช่น เมล็ดมะขามสุข บางทีก็ใช้ดินเหนียวทำเป็นลูกธนูตากแห้ง แต่ไม่นิยมเพราะไม่ทนและเปื้อนมือง่าย ปัจจุบันนิยมใช้ลูกแก้วแทน
ลูกหมากอาจเมล็ดสวาด ลูกหยาง ดินเหนียวปั้น

หมากขุม 7 หลุมในตัวเมืองมีลูกหมาก ึ 7 ลูก

หมากขุม 9 หลุม ในตัวเมืองมีลูกหมาก 9 ลูก

วิธีการเล่น
1.ผู้เล่น 2 คนนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก(รางหมากขุม 7 หลุม) ทั้ง 7 หลุม (ยกเว้นหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่)
2.การเดินหมาก ให้เดินจากขวาไปซ้าย อาจเริ่มเล่นพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่า "แข่งเมือง" หรือให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มเล่นก่อน โดยเริ่มจากการหยิบหมากจากหลุมใดก็ได้ ในด้านของตนเองขึ้นมาทั้งหมด จากนั้นทิ้งลูกหมากลงในหลุมถัดไปหลุมละหนึ่งเม็ด เมื่อหมากตัวสุดท้ายตกลงหลุมใด ก็หยิบหมากจากหลุมนั้นขึ้นมาให้หมดแล้วเดินต่อไป จนกระทั่งหมากตัวสุดท้ายตกไปในหลุมว่างของฝ่ายตรงข้าม ถือว่า "ตาย"  กรณีที่หมากตัวสุดท้ายตกในหลุมว่างในแดนตนเอง ถ้าหลุมตรงข้ามมีหมากในหลุมก็ให้เอาหมากในหลุมที่ตายของตนเองและหลุมตรงข้ามใส่ในหลุมหัวเมืองของตนเอง เรียกว่า "กิน" ถ้าหมากตัวสุดท้ายของตนเองตกในหลุมหัวเมืองให้เริ่มต้นเดินใหม่จากหลุมใดก็ได้ในด้านของตนเอง เล่นจนหลุมเมืองของฝ่ายหนึ่งหมดหมากเดินต่อไปไม่ได้ จึงเริ่มเล่นตาต่อไป
การเล่นในแต่ละครั้งเรียกว่า "ตา" ตาถัดไปให้นำหมากในหลุมเมืองของแต่ละฝ่ายใส่ในแดนของตัวเรา  ต่างกันการเล่นครั้งแรกที่ตัวหมากไม่ครบในแต่ละหลุมทำให้หลุมนั้นเป็นหลุมว่าง เรียกว่า "เป็นหม้าย" หลุมหม้ายนั้นเริ่มจากหลุมที่อยู่ห่างจากหลุมเมืองมากที่สุด ทั้ง 2 ฝ่ายเล่นจนกระทั่งฝ่ายหนึ่งเป็นหม้าย ตั้งแต่ 1 หลุม 2 หลุม จนเป็นหม้ายหมดทุกหลุม เป็นอันยุติการเล่น แสดงถึงการแพ้ชนะอย่างสมบูรณ์ 
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี
ตั้งอยู่เลขที่ 80 หมู่ 8 ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
โทรศัพท์ 039-391431
เปิดทำการวันพุธ วันอาทิตย์  เวลา 9.00 – 16.00  น.
ปิดวันจันทร์,วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท