วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

วัดพระธาตุศรีจอมทอง พระธาตุประจปีเกิดชวด

วัดพระธาตุศรีจอมทอง





เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดนักษัตรปีชวด
วัดพระธาตุศรีจอมทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๔  โดยนายสร้อย และนางเม็ง เป็นผู้สร้างบนดอยจอมทอง  จึงได้ชื่อว่า วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง




วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร  ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด  ม.๒ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ห่างจากเชียงใหม่ ๕๘ กิโลเมตร

วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นสถานที่ประดิษฐานพระทักษิณโมลีธาตุ  พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตเท่าเม็ดข้าวโพด สัณฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือนดอกบวบ หรือดอกพิกุลแห้ง


สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๘ ปัจจุบันพระธาตุถูกบรรจุไว้ในพระโกศ ๕ ชั้น  ตั้งอยู่ภายในพระวิหารจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  คล้ายพระเจดีย์ กว้าง ๔ เมตร สูง ๘ เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว ในราชวงศ์มังราย ปี ๒๐๖๐ และพระองค์ทรงสร้างสุวรรณปราสาทหรือโขงพระเจ้า พอสร้างเสร็จสิ้นก็มีการเบิกบายฉลองกัน  ซึ่งพระแก้วเมือง  ก็ โอกาส หยาดน้ำ (กรวดน้ำ)  ด้วยให้ทานยังสุวรรณโกศคำ ,ปราสาท,วัดวาอาราม และข้าคน ไร่นา คามเขต ป่าที่ดิน ย่านน้ำ สรรพเครื่องไทยทานทั้งหลาย เป็นมหาปางอันใหญ่ ในวัดศรีจอมทองในที่นั้น


มีประเพณีสำคัญของวัด คือ การแห่ไม้ค้ำโพธิ์  เป็นประเพณีของชาวล้านนา เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ทางทิศตะวันตก มีดอยอินทนนท์และลำน้ำแม่กลาง สังกัดพุทธนิกายมหายาน

อย่าลีมประวัติของชาติไทย เพื่อดำรงความภาคภูมิใจความเป็น




   

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

เที่ยวเชียงใหม่ตามผังทักษาเมือง


     ผังเมืองเชียงใหม่และบางเมืองในล้านนา ผังเมืองเชียงตุง จะวางผังที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ เช่นพระราชวัง,บ้านขุนนาง,วัด,,ตลาด,เรือนจำและป่าช้า เป็นต้น โดยพิจารณาร่วมกับทักษาเมือง  คำว่า  ทักษา  หมายถึง ชื่อเรียกอัฐเคราะห์ (อาทิตย์,อังคาร,พุธ,เสาร์,พฤหัสบดี,ราหู,ศุกร์) มีชื่อเรียกว่า บริวาร,อายุ,เดช,ศรี,มูล,อุตสาหะ,มนตรีและกาลกิณี โดยเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘  คือ บูรพา,อาคเนย์,ทักษิณ,หรดี,ประจิม,พายัพ,อุดรและอีสาน

บริวารเมือง บริเวณประตูสวนดอก ทิศตะวันตก เป็นที่ตั่งบ้านเรือนของชาวเมือง และเป็นประตูที่ผ่านไปสวนดอกไม้ ของพระเจ้ากือนา  ซึ่งสร้างพระอาราม ใน พ.ศ.๑๙๑๔ เพื่อประดิษฐานพระสารีริกธาตุที่พระสุมนเถรนำมาจากกรุงสุโขทัย ตำนานสุวรรณคำแดง ว่า เวียง สวนดอกนี้มีมาตั้งแต่สมัยลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่

อายุเมือง บริเวณแจ่งหัวลิน  อายุเมือง หมายถึง เมืองจะมีอายุยืนยาวไม่เกิดภัยอันตรายต่างๆ ถ้าประชาชนทำผิดประเพณี เป็นสิ่งไม่ดีกับอายุเมือง เช่น ในสมัยพระมกุฎิวิสุทธิวงศ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายของเชียงใหม่ สมัยราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงอนุญาตให้ชาวเมืองนำศพออกทางประตูช้างเผือก  อ้อมผ่านแจ่งหัวสินซึ่งเป็นอายุเมือง ถือว่าไม่ดี เป็นการย่ำอายุเมือง ทำให้บ้านเมืองเสื่อม เสียเมือง แก่พม่าในที่สุด
แจ่งหัวลินอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีถนนสายห้วยแก้วผ่าน คำว่า ลิน หมายถึง รางน้ำ ฉะนั้นแจ่งหัวลิน หมายถึง มุมเมืองที่ต้นร่องน้ำที่ไหลเข้าไปหล่อเลี้ยงตัวเมือง




เดชเมือง  คือ ประตูหัวเวียง หรือ ประตูช้างเผือก นับเป็นประตูมงคล ในสมัยโบราณเมื่อกษัตริย์จะเสด็จขึ้นครองราชย์จะใช้ในงานพิธีราชาภิเษกโดยผ่านเข้าประตูช้างเผือก ต่อมาภายกลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประตูช้างเผือก ในสมัยพญาแสนเมืองมา  เพื่อเป็นการระลึกถึงมหาดเล็ก ๒ คน ที่ช่วยให้พระองค์ปลอดภัยในสงคราม ประตูนี้อยู่ทางทิศเหนือ


ศรีเมือง  เป็นบริเวณแจ่งศรีภูมิจะปลูกต้นไม้ประจำเมือง เรียกว่า ไม้ศรีเมือง  ในสมัยพญาติโลกราช โปรดให้ตัดไม้ศรีเมือง ทำให้บ้านเสื่อมในเวลาต่อมา อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ


มูลเมือง บริเวณประตูท่าแพ ซึ่งเดิมเรียกว่า ประตูเชียงรือก บริเวณนี้จะสร้างตลาดเพราะจะตรงกับมูล(มั่งคั่งร่ำรวย)  บริเวณนี้เป็นที่ตั่งตลาดชื่อ เชียงเรือก  ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน  ใกล้บ้านเชือกชุมชนโบราณของเมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประตูท่าแพชั้นใน ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ ส่วนประตูชั้นนอกนั้น ตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองชั้นนอก ต่อมาภายหลังได้ชำรุดผุผังไป คงเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน


อุตสาหะเมือง  บริเวณแจ่ง ขะค้ำ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้



มนตรีเมือง บริเวณประตูเชียงใหม่ หรือ ประตูท้ายเวียง ตั้งอยู่ทิศใต้ของกำแพงชั้นใน เป็นประตูที่ใช้เดินทางระหว่างเชียงใหม่และลำพูน



 
กาลกิณีเมือง บริเวณประตูสวนปรุงหรือประตูแสนปุง (แจ่งกู่เรือง) บริเวณนี้จะเป็น ประตูผี  และตำนานเขียนว่าเป็นที่ตั้งเรือนจำ(เรือนขัง) เพราะเป็นเขตอัปมงคลของเมือง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ประตูออกไปสู่สุสาน










   


ความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างเมืองเชียงใหม่



ความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างเมืองเชียงใหม่
    
     ในเอกสารคัมภีร์ใบลานประเภทตำนานต่างๆ  และศึกษาถึงประเพณีพิธีกรรมความเชื่อ เกี่ยวกับบ้านเมืองที่ถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ช่วยให้เข้าใจถึงความคิดและความเชื่อหลายประการ เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งกำลังและอำนาจในการเอาชนะข้าศึกศัตรูได้ ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ จะช่วยสะท้อนถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างเมืองหรือผู้เขียนตำนานเรื่องนี้ต่างน่าสนใจคือ ไชยมงคลของเมือง

ไชยมงคลของเมือง

    เมื่อพญามังรายทรงสำรวจและแสวงหาชัยภูมิ เพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ มีไชยมงคลหรือไชยภูมิที่ดี ๗ ประการ ดังนี้

๑.บริเวณที่แรกจะสร้างพระราชวังหรือหอนานพญามังราย มีหนูเผือกและบริวารวิ่งเข้ารูที่โคนไม้นิโครธ(ต้นไทร) ตันผักเลีอด(ตันเลียบ) เป้นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

๒.พญามังรายและพระสหายพญางำเมืองและพ่อขุนรวมคำแหง ได้ทรงนำดอกไม้ธูปเทียนไปสักการบูชาต้นไทรนั้น ไม้ไทรนี้ซึ่งกลายเป็น ไม้เสื้อเมือง เชียงใหม่ ซึ่งไม้เสื้อเมืองนี่ มีคำอธิบายไว้ในอาหมบูราณจีของชาวอาหม เรียกว่า ต้นเสื้อเมือง เมื่อจะสร้างเมืองเชียงใหม่ จะมีการปลูกต้นเสื้อเมืองพร้อมกับกำหนดของเขตที่ตั้งเมือง ผังเมือง ท้ายเมือง คำว่า เสื้อเมือง หมายถึง เทวดาทำหน้าที่อารักษ์ประจำเมือง ชาวเมืองจะบูชาเสื้อเมืองทุกปี

๓.พื้นดินที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่ลาดเอียงจากดอยสุเทพมาทางทิศตะวันออกบนฝั่งแม่น้ำปีง

๔.กวางเผือกแม่ลูก ๒ ตัว ออกจากป่าใหญ่ทิศเหนือ มาอยู่ที่ป่าหญ้าคา

๕.กวางเผือกแม่ลูก ๒ ตัวนี้ที่อยู่ป่าหญ้าคานั้น หมาป่าไม่อาจเข้าไปทำร้ายได้เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

๖.มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า อีสานราชบุรี

๗.แม่น้ำปิงไหลมาจากดอยอ่าง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นดอยศักดิ์สิทธิ์
    
     เมื่อตกลงให้สร้างเมือง โดยกำหนดที่ตั้ง ระบบนิเวศน์ แนวเขตของเมืองเรียบร้อยแล้ว ก็คำนวณหาฤกษ์ยาม  แล้วทรงลงมือสร้างเมือง โดยถือได้ว่า เมืองได้เกิดตามวันเวลาที่กำหนดเปรียบเหมือนคนที่คลอดจากครรภ์มารดา ดวงชาตาที่กำหนดขึ้นก็ถือเป็น ดวงชาตาเมือง คล้ายกับดวงชาตาคน  ซึ่งในความคิดเช่นนี้ เมืองจะมีวิญญาณเมืองหรือขวัญเมืองด้วย   เมืองจะเจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อม ชาตาเมืองจะดีหรือชาตาจะขาด ขึ้นอยู่กับดวงดาวที่กำหนดใช้ตามดวง ดังนั้นชาวเมือง จีงเชื่อว่าดวงชาตาเมืองเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงเสมอ เมืองเชียงใหม่กำเนิดเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ สมัยพญามังราย
    เรียนรู้ประวัติไทยอันงดงาม เพื่อดำรงความเป็นไทยให้ยึนยาว








ประเพณีโคมลอย (ประเพณียี่เป็ง)



ประเพณีโคมลอย (ประเพณียี่เป็ง)
    
 ประเพณียี่เป็น เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ได้จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๒ ของชาวล้านนาเป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า ยี่  แปลว่า ๒ และคำว่า เป็ง แปลว่า เพ็ญหรือพระจันทร์เต็ฒดวง ซึ่งชาวล้านนานับทางจันทรคติ ส่วนภาคกลางตรงกันเดือน ๑๒

ประเพณียี่เป็ง  จะเริ่มตึ้งแต่ขึ้น ๑๓ ค่ำ หรือ เรียกว่า วันดา เป็นวันที่จ่ายของเพื่อเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด
ขึ้น ๑๔  ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาในทางธรรม ก็ไปถือศีล ฟังธรรม ทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และที่ลานวัดจะจัดทำกระทงขนาดใหญ่ เพื่อใส่ของกินของใช้ ใครจะมาใส่ไว้ในกระทงก็ได้ เพื่อนำไปทำบุญทำทานกับคนยากจน
พอขึ้น ๑๕ ค่ำ  ก็นำกระทงใหญ่ที่วัด และกระทงส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ

ประเพณีพื้นบ้านของชาวเหนือนี้  มีความเชื่อว่าเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกเรื่องร้ายๆ ออกไป สมัยโบราณพิธีลอยกระทงนั้น  เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม





การลอยโคมนั่นเป็นพิธีของพราหมณ์ ทำเพื่อบูชา พระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์  แต่ชาวล้านนามีความเชื่อว่าในวันเพ็ญเดือน ๑๒ คนที่เกิดปีจอต้องไปบูชาพระธาตุเกศเก้วจุฬามณี ซึ่งเป็นที่บรรจุมวยผมของเจ่าชายสิทธิถัตถะที่ตัดออกก่อนดำรงเพศนักบวช  แต่เจดีย์นี้อยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงใช้โคมลอยเพื่อบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี  ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยลอยโคมให้ลูงเท่าที่ทำได้และบุชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

ลักษณะของโคมลอย  ทำจากโครงไม้ไผ่แล้วติดกระดาษสามีสีสันสวยงาม มีลักษณะเป็นกล่องสีเหลี่ยม เรียกว่า แบบกล่องข้าว ลักษณะกลม เรียกว่า ฮ้งมดสัม (รังมดแดง) มีที่จุดตะเกียงไฟอยู่ตรงกลาง เพื่อที่จะให้ไอร้อนพาโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า เมื่อโคมพองได้เต็มที่แล้ว พอปล่อยลอยขึ้นบนห้องฟ้าพอสมควรก็ปล่อยหางที่ขมวดไว้คลี่ยาวออกมา พร้อมกระดาษสีรุ้งต่างๆ และกระดาษเงิน ทอง ออกมาจากโคม

 ในปัจจุบันมีการปล่อยโคมลอยกันมากทั้งกลางวันและกลางคืน ทางหน่วยงานรัฐต่างๆ ออกมารณรงค์ในการปล่อยโคมลอย เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาหรือเพื่อการประกวด  ซึ่งการปล่อยโคมลอยนั้นได้ก่อปัญหาที่เป็นอันตรายต่างๆ และการขึ้นลงของเครื่องบิน ขอให้ปล่อยหลัง ๓ ทุ่ม และโคมลอยต้องมีขนาดปริมาตรไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์เมตร
 
เที่ยวทั่วไทย เรียนรู้ประเพณีเพื่อสืบสานสู่ลูกหลาน


       


   


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

3 ข้อผิดพลาดที่ใหญ่หลวง การส่งเมล

ถ้าคุณทำธุรกิจอย่างถูกต้องและอนาคตต้องการขยายธุรกิจที่คุณทำออกไปอีก
แค่อีเมลที่คุณส่งออกไปให้ผู้มุ่งหวังนั้น
โดนระบุข้อความว่า สแปมเมอร์
แล้วคุณจะแก้ใขอย่างไร

Email Marketing  การส่งอีเมลโดยได้รับการอนุญาตเป็นรากฐานที่สำคัญในการทำการตลาด
จดหมายข่าวที่คุณส่งออกไปครั้งแรกนั้น
คุณควรตรวจสอบว่าทุกรายชื่อในรายการส่งจดหมายนั้นได้รับอนุญาตแล้ว
เพราะการส่งจดหมายครั้งแรกนี้จะไม่โดนจับโยนไปอยู่ในถังขยะ ในข้อหา สแปม

3 ข้อผิดพลาดที่ใหญ่หลวงในการส่งเมล

1.การซื้อรายชื่ออีเมล รายชื่อที่ได้มาไม่คุ้มค่าเงิน เสียเวลาในการส่ง เพราะรายชื่อที่ได้ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ และมีของแถมอีก คือ ธุรกิจของคุณจะโดนสแปมติดอันดับ ทำให้ธุรกิจที่คุณทำเสียหาย  แบรนต์ของคุณเสียชื่อ และยังผิดกฎหมายอีกด้วย

2.การดูดเมล กรองเมล ตามเว็บไซด์ต่างๆ แล้วส่งเมลออกไปนั้น ก็ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ ทำให้การส่งเมลไม่ได้ประสิทธิผล แถมผิดกฎหมายอีกด้วย

3.การส่งเมลโดยการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจผิดและไปในทางหลอกลวง เขาอาจจะจ่ายเงินซื้อสินค้าให้ตุณก็จริง
แต่ครั้งต่อไปคุณส่งเมล คุณก็จะโดนสแปมและคุณยังผิดกฎหมายอีกด้วย

  ขอขอบคุณข้อมูลจาก GetResponse