วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สักการะพระธาตุประจำวันเกิดจังหวัดนครพนม



สักการะพระธาตุประจำวันเกิดจังหวัดนครพนม
การได้กราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุถือว่าเป็นมงคลสูงสุดแห่งชีวิต หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว 500 ปี ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงให้คณะพระธรรมฑูตอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปประดิษฐานตามเมืองสำคัญต่างๆ  ซึ่งแยกออกเป็น 8 สาย สายหนึ่งได้อัญเชิญมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ณ ภูพร้า ตั้งแต่ พ.ศ. 5  พระบรมสารีริกธาตุแตกกระจายออกไปอยู่อาณาจักรล้านช้าง  ในปัจจุบันคือจังหวัดนครพนม  องค์พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ที่ใดก็ได้มีการสร้างพระมหาเจดีย์ขึ้นและมีเหล่าเทพเทวดาเป็นผู้อารักคุ้มครอง ซึ่งในจังหวัดนครพนมเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพระธาตุประจำวันทั้ง 7 วัน



พระธาตุพนม
ตั้งประดิษฐานอยู่ทีวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัด  50 กิโลเมตร พระธาตุพนมได้บรรจุพระอุรังคธาตุ(กระตูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้าไว้  เป็นพระธาตุเก่าแก่สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1200 – 1400  เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของพี่น้องทั้งชาวไทยและลาว  ตามตำนานกล่าวไว้ว่า  พระมหากัสสปะและพระอรหันต์ 500 องค์ พร้อมด้วยเจ้าผู้ครองนครแคว้นต่างๆ เป็นผู้สร้าง องค์พระธาตุมีฐานกว้างยาวด้านละ12.33 เมตร สูง 53.60  เมตร บนยอดพระธาตุประดับด้วยฉัตรทองคำ มีน้ำหนัก110 กิโลกรัม  องค์พระธาตุเป็นรูปทรงคล้ายกลีบบัวสี่กลีบที่ยังตูม เรียกว่า บัวเหลี่ยม ลวดลายประติมากรรมเป็นสมัยศิลปะทรารวดี งานมนัสการพระธาตุพนมจัดในวันขึ้น 10 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
ตามความเชื่อของชาวล้านนาพระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรวอก และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดวันอาทิตย์ เชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์มีบุญบารมีและผู้คนให้ความเคารพนับถือ และมีความเชื่อว่าผู้ใดได้ไหว้พระธาตุครบ 7 ครั้ง ถือเป็นลูกพระธาตุ มีความสิริมงคลสูงสุดของชีวิต

คำนมัสการพระธาตุ ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฏฐิมายะ อุปะริมายะ ทิสายะ กะปะณะคิริสะมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ  ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะมามิฯ
คำนมัสการยอดพระธาตุ
เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง ปะณีตัง  พุทธะอุรังคะเจดีย์  อะหัง วันทามิ สัพพะทา
คำนมัสการพระธาตุหัวอก (นมัสการทิศทั้ง 6)
ทิศบูรพา ปุริมายะ ทิสายะ กะปะณะคิริสะมิง ปัพเพะเต  มหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะมามิฯ
ทิศทักษิณ ทักขิณายะ ทิสายะ กะปะณะคิริสะมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะมามิฯ
ทิศปัจฉิม ปัจฉิมายะ กะปะณะคิริ สะมิง ปัพเพเต มหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะมามิฯ
ทิศอุดร อุตตะรายะ กะปะณะคิริสะมิง ปัพพะเต  มหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะมามิฯ
ทิศเบื้องบน อุปะริมายะ กะปะณะคิริสะมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะมามิฯ
ทิศเบื้องล่าง เหฏิฐิมายะกะปะณะคิริสะมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะมามิฯ

สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีแดง ธูป 6 ดอก เทียน  2 เล่ม
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันอาทิตย์ อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ (สวดวันละ 6 จบ ชื่อคาถาพระนารายณ์แปลงรูป ใช้ทางเมตตามหานิยม ประจำอยู่ทิศอีสาน/ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)   


     
พระธาตุเรณู
ตั้งอยู่ทีวัดธาตุเรณู ต.เรณู  อ.เรณู จำลองมาจากองค์พระธาตุพนมเดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461  โดยพระอุปัชณาย์อินภูมิโย องค์พระธาตุมีความสูง  35 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกว้างยาวด้านละ 8.37 เมตร มีซุ้มประตู  4 ด้าน ภายในบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่าๆ และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง ภายในโบสถ์ของวัดยังประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ พระนามว่า พระองค์แสน เป็นศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ มีลักษณะสวยงามอีกทั้งยังเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาว อำเภอเรณูนคร
พระธาตุเรณูถือว่าเป็นพระธาตุประจำวันเกิดวันจันทร์ เชื่อว่าผู้ที่ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้มีวรรณะงดงามผุดผ่องดั่งแสงจันทร์
คำนมัสการพระธาตุเรณู  ปุริมายะ หิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเกเรณะ จะ สังฆะเกเรณะ จะ ฐาปิตัง เจติยัง สิระสานะมานิ
 ทักขิณายะ หิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเกเรณะ จะ สังฆะเกเรณะ จะ ฐาปิตัง เจติยัง สิระสานะมานิ
ปัจฉิมมายะ หิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเกเรณะ จะ สังฆะเกเรณะ จะ ฐาปิตัง เจติยัง สิระสานะมานิ
อุตตะรายะ หิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเกเรณะ จะ สังฆะเกเรณะ จะ ฐาปิตัง เจติยัง สิระสานะมานิ
สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีเหลือง ธูป 15 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันจันทร์ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา  (สวดวันละ 15 จบ ชื่อคาถาพระกระทู้เจ็ดแบก ใช้ทางคงกระพัน ประจำอยู่ทิศบูรพา/ทิศตะวันออก)


พระธาตุศรีคุณ
ตั้งอยู่ที่วัดธาตุศรีคุณ ต.นาแก อ.นาแก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 78 กิโลเมตร ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2340  ต่อมาในปี พ.ศ. 2421 ตั้งเป็นวัดพระธาตุศรีศรีคุณ และได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2486 -2490 อง่ค์พระธาตุมีฐานและเรือนธาตุสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น เรือนยอดทรงบัวเหลี่ยม ส่วนยอดประดับฉัตรองค์ธาตุสีขาวประดับลายปูนปั้นสีทอง ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอรหันตธาตุของพระโมคลานะ พระสารีบุตรและพระสังกัจจายนะ พระธาตุศรีคุณเป็นพระธาตุประจำวันเกิดวันอังคาร เชื่อว่าผู้ใดที่ได้ไปนมัสการพระธาตุศรีคุณจะได้รับอานิสงส์ให้มีศักดิ์ศรีทวีคูณ
คำนมัสการพระธาตุศรีคุณ
ตั้งนะโม  3 จบ
จะตุทิสสะยะ  อิมัสมิง อาวาเส  โปราณะ ฐาปิตัง ธาตุสีละคุณัง สิระสา นะมามิ
ทุติยัมปิ จะตุทิสสายะ อิมัสิง อาวาเส โปราณะ ฐาปิตัง ธาตุสีละคุณัง สิระสา นะมามิ
ตะติยัมปิ จะตุทิสสายะ อิมัสมิง อาวาเส โปราณะ ฐาปิตัง ธาตุสีละคุณัง สิระสา นะมามิ
นะพุท  โมพุท พุทพุท ธาพุท อะพุท นะมะพะธะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สะทา โสต ถี ภะวันตุ เม
สิ่งของบูชาพระธาตุ  ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีชมพู ธูป 8 ดอก เทียน 2 เล่ม
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันอังคาร  ติ หัง จะ โตโร ถิ นัง  (สวดวันละ 8 จบ ชื่อคาถาฝนเสน่หา ใช้ทางเมตตามหานิยม ประจำอยู่ทิศอาคเนย์/ทิศตะวันออกเฉียงใต้)


พระธาตุมหาชัย
ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กิโลเมตร องค์พระธาตุเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมสูง 40 เมตร สีขาวลวดลายสีทองชั้นล่างทำเป็นซุ้มประตูทั้งแปดด้านสลับกับซุ้มเทพพนมอย่างสวยงาม สร้างในปี พ.ศ. 2495  เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระอัญญาโกณฑัญญะ พระสารีบุตรและพระอนุรุท ซึ่งล้วนแต่เป็นพระปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า พระธาตุมหาชัยเป็นพระธาตุประจำวันเกิดวันพุธ เชื่อว่าผู้ที่ได้นมัสการพระธาตุมหาชัยจะได้รับอานิสงส์ประสบชัยชนะในชีวิต
คำนมัสการพระธาตุมหาชัย อิมัสมิง เจติเย สรานิชิยา ภูมิพะละมหาเรเชนะ ฐะปิตัง พุทธสารีริกธาตุญจะ  อัญญาโกณฑัญญะ สาริปุตตะ โมคคัลลานะ อานันทะ อนุรุทธะ ธะโสสัตเกรานัง โมสปัญญาเถเรนะ ฐปิตานิ อัฐฐีนิ จะ สิระสา นะมานิ
สิ่งของบูชาพระธาตุ  ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ตอกบัว ธูป 17 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันพุธ
วันพุธกลางวัน ปิ สัม ระ โส ปุ สัต พุท (สวดวันละ 17 จบ ชื่อคาถาพระนารายณ์เลื่อนสมุทร ให้เสกปูนสูญผี ประจำอยู่ทิศทักษิณ/ใต้)
วันพุธกลางคืน คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ (สวดวันละ 12 จบ  ชื่อคาถาพระนารายณ์พลิกแผ่นดิน ให้ทางแก้ความผิด ประจำอยู่ทิศพายัพ/ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)


พระธาตุประสิทธิ์
ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ 13 ต.นาหว้า อ.นาหว้า ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 93  กิโลเมตร เดิมเป็นเจดีย์โบราณไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2436  ได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ โดยจำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนม ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม วัดรอบฐานได้ 20.80 เมตร สูง 28.52 เมตร  ภายในพระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตสารีริกธาตุ รวม 7 องค์ พระพุทธรูปเก่าแก่ ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง พระพุทธบาทจำลองที่อัญเชิญจากกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2500  พระธาตุประสิทธิ์เป็นพระธาตุประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี เชื่อกันว่าผู้ใดได้นมัสการพระธาตุประสิทธิ์จะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้สัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติงาน
คำนมัสการพระธาตุประสิทธิ์
ชัมพุเขตตะคาเม ฐิเต อิมัสมิง อารามเขตเต เทวะระตะนะ โมสีติ ราชะทินนะ นามะเกนะ กันโตภาสะมะหาเกเรนะสัทธิง เถรานุเถเรหิ อิมัสมิง พุทธะปะระสฺทธิ์เจติเย อานีตัง ฐาปิตัง จตุตทะสะ พุทธะธาตุญจะ จะตุสังเวชะนียะมัตติกัญจะ สิระสา เม นะมามิ สัพเพปิยะนุตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
สิ่งของบูชำพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีส้ม ธูป 18 ดอก เทียน 2 เล่ม
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ
(สวดวันละ 18 จบ ชื่อคาถาพระนารายณ์ตรึงไตรภพ ใช้ทางเมตตามหานิยม ประจำทิศประจิม/ตะวันตก)



พระธาตุท่าอุเทน
ประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 26 กิโลเมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2455  สร้างโดยพระสีทัตถ์สุวรรณมาโจ และพระภิกษุสงฆ์พร้อมด้วยชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งจำลองมาจากพระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็ดและสูงกว่าพระธาตุพนม มีความสูงจากพื้นดินถึงยอด 33 วา  ฐานกว้างด้านละ 6 วา 3 ศอก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง สหภาพพม่า รวมทั้งพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ที่มีผู้มีจิตศรัทธาได้บรรจุถวายไว้ พระธาตุท่าอุเทนถือเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์  เชื่อว่าผู้ที่ได้สักการะจะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์เปรียบเหมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ
คำนมัสการพระธาตุท่าอุเทน
ทิศตะวันออก ปุริมายะ ทิสายะ นทีติเร อุเทนะรัฏฐัสมิง อายัสสะมันเต สีทัดเถนะ ฐาปิตัง พุทธะสารีริกะธาตุง สิระสานะมามิ
ทิศเหนือ  อุตตะรายะ ทิสายะ นทีติเร อุเทนะรัฏฐัสมิง อายัสสะมันเต สีทัตเถนะ ฐาปิตัง พุทธะสารีริกะธาตุง สิระสานะมามิ
ทิศตะวันตก ปัจฉิมายะ ทิสายะ นะทีติเร อุเทนะรัฏฐัสมิง อายัสสะมันเต สีทัดเถนะ ฐาปิตัง พุทธะสารีริกะธาตุง สิระสานะมามิ
ทิศใต้ ทักขิณายะ ทิสายะ นทีติเร อุเทนะรัฏฐัสมิง อายัสสะมันเต สีทัดเถนะ ฐาปิตัง พุทธะสารีรีกะธาตุง สิระสานะมามิ
สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง  ดอกไม้สีน้ำเงินหรือสีฟ้า  ธูป 21 ดอก เทียน 2 เล่ม
คาถาบูชาดวงประจำวันศุกร์ วา โธ โน อะ มะ มะ วา  (สวดวันละ 10 จบ ชื่อคาถาพระพุทธเจ้าตวาดหิมพานต์ ใช้ในทางเมตตามหานิยม ประจำอยู่ทิศอุดร/ทิศเหนือ)


พระธาตุนคร
ประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ ถ.สุนทรวิจิตร  อ.เมือง วัดสร้างในปี พ.ศ. 1150 โดยพระยามหาอำมาตย์(ป้อม) จากเวียงจันทน์ มีชื่อเดิมว่าวัดมิ่งเมือง คนท้องถิ่นนิยมเรียกว่า วัดธาตุ เพราะมีพระธาตุเป็นจำนวนมาก ต่อมาปี พ.ศ. 2462 พระครูพนมคณาจารย์เจ้าอาวาสสมัยนั้นได้รื้อถอนพระธาตุเหล่านี้ออก แล้วสร้างพระธาตุนครขึ้นแทนซึ่งเสร็จในปี พ.ศ. 2465 พระธาตุนครมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 5.85 เมตร สูง 24 เมตร  มีรูปแบบตามพระธาตุพนมองค์เดิม ภายในบรรจุพระอรหันตธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำและพระพุทธรูปเงินในผอบไม้จันทน์แดงที่ได้มาจากพระธาตุองค์เดิมพร้อมทั้งของมีค่าต่างๆ  พระธาตุนครเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ เชื่อว่าผู้ที่ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์เสริมบุญบารมีและมีอำนาจวาสนาเป็นเจ้าคนนายคน
คำนมัสการพระธาตุนคร อมัสมิง มหาธาตุอาวาเส มหาพนม นคราจาริเยนะ ฐาปิตัง อะระหันตะสารีริกธาตุญเจวะ พุทธสารีระกธาตุญจะ อะหัง วันทามิ สัพพะทา ทุติยัมปิ ฯลฯ ตะติยัมปี ฯลฯ
สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ธูป 10 ดอก เทียน 2 เล่ม
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันเสาร์ โสมา ณะ กะ ริ ถา โธ (สวดวันละ 10 จบ ชื่อคาถาพระนารายณ์ถอดจักร ใช้ทางถอดคุณไสย ประจำทิศหรดี/ ทิศตะวันตกเฉียงใต้)