แนะนำเรื่องของการท่องเที่ยว,ประวัติศาสตร์,ประเพณี,ความเชื่อถือ แหล่งที่พักและร้านอาหาร
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
นิทานพื้นบ้านของเรื่องพญานาคจังหวัดสกลนคร
จังหวัดสกลนคร
ตั้งขึ้นในสมัยวัฒนธรรมขอมเรืองอำนาจ จึงมีโบราณสถานศิลปะขอมอยู่เป็นจำนวนมาก ในจังหวัดสกลนครนี้มีนิทานพื้นบ้านเล่ากันว่า โอรสเจ้ากรุงอินทปัตต์ ซึ่งเป็นเขมรองค์หนึ่งชื่อขุนขอม ได้พาข้าทาสบริวารมาสร้างเมืองอยู่หนองหาร แต่เป็นเมืองที่ขึ้นต่ออินทปัตต์ ขุนขอมมีโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า สุระอุทก เมื่อขุนขอมสิ้นพระชนม์ลง โอรสคือสุระอุทกก็ได้ครองเมืองสืบแทน ต่อมาเจ้าสุระอุทกมีโอรสอยู่ ๒ องค์ คือ ปิงมงคล กับ คำแดง
เจ้าสุระอุทกได้ทำสงครามกับพญานาค ที่ชื่่่อ ธนะมูล ด้วยอิทธิฤทธิ์พญานาคได้บันดาลให้เมืองของเจ้าสุระอุทกจมลง และเกิดน้ำท่วมเมืองครั้งใหญ่ และเจ้าอุระอุทกจมน้ำตาย เจ้าปิงมงคล และเจ้าคำแดง ได้หนีไปอยู่ทางใต้ของหนองหารและได้ไปดูที่ตั้งเพื่อสร้างเมืองใหม่ ก็ได้พบทำเลที่ตั้งที่มีคูน้ำรอบเชิงชุม จึงได้เกณฑ์ไพร่พลมาสร้างเมืองใหม่ และให้ชื่อหนองหารตามเดิม และได้ราชาภิเษกขึ้นเป็นเจ้าเมืองมีนามว่า พระยาสุวรรณปิงมงคล เสกสมรสมีพระมเหสีมีชื่อ นางนารายเจงเวง
พระยาสุวรรณปิงมงคลได้สร้างเจดีย์สวมรอยพระพุทธบาท ๔ รอยลงไว้ที่คูน้ำรอบเชิงชุม นางนารายเจงเวงสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงไว้ที่สวนนอกเมือง เมื่อพระยาสุวรรณปิงมงคลถึงแก่กรรมลงแล้ว ก็มีเจ้าผู้ครองนครองค์ใหม่ ภายหลังมีฝนแล้งเป็นเวลานานถึง ๗ ปี ราษฎรเกิดตวามอดอยากจึงพากันอพยพไปอยู่ที่เมืองเขมร เมืองหนองหารจึงร้างอยู่นาน ราษฎรที่เหลืออยู่บริเวณนั้นก็ไม่เรียกว่าเมืองอีก ต่อมาจึงเรียกว่า บ้านธาตุเชิงชุม
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้อุปฮาด (อุปราช) เมืองกาฬสินธุ์ มาดูแลรักษาบ้านธาตุเชิงชุมอยู่นานหลายปี จึงได้มีราษฎรพากันมาตั้งบ้านเรือนกันมากขึ้น จึงได้ทรงแต่งตั้งอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เป็นพระธานีเมืองหนองหาร และเปลี่ยนชื่อมาเป็น เมืองสกลทวาปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น สกลนคร
ป้ายกำกับ:
ท่องเที่ยว,
ที่พัก,
โรงแรม,
travel
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณค่ะ สำหรับสาระความรู้
ตอบลบ