วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องพญานาค

ความเชื่อเรื่องนาคของไทย เป็นความเชื่อที่ผสมกันระหว่างความเชื่อในศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ ในศาสนาพราหมณ์พญานาคเป็นพาหนะของพระวิษณุ เวลาพระนารายณ์บรรทมสินธุ์จะทรงบรรทมอยู่บนบัลลังก์นาคราช  ชื่อพญาอนันตนาคาในเรื่องกุรมาวตารหรือการอวตารเป็นเต่า ตอนกวนน้ำอมฤต พระอิศวรให้เอาเขาตรีกูฎมารองเขาพระสุเมรุราช แล้วเอาพญาอนันตนาคราชาพันรอบเขาเป็นสายชัก ให้เทวดาดึงทางหาง  พวกยักษ์หรืออสูรดึงทางหัว ด้วยกำลังแรงทำให้เขาพระสุเมรุราชทุดไปใต้บาดาล พระนารายณ์ จีงนิรมิตเป็นสุวรรณกุมภัณฑ์ไปรองเขาพระสุเมรุ เมื่อเทวดาและอสูรชักเขาพระสุเมรุต่อจีงได้น้ำอมฤต หรือตอนพระฤาษีกไลโกฎไปทูลพระอิศวรให้พระนารายณ์อวตาร พระนารายณ์ได้ทูลขอให้บัลลังกฺ์นาค(พญาอนันตนาคราช) ของพระองค์ลงไปเกิดด้วย พระอิศวรจึงให้บัลลังก์นาคลงไปเกิดเป็นพระลักษณ์ หรือเรื่องที่เขาพระสุเมรุเอียงที่เกิดจากรามสูรรบกับพระอรชุนแล้วรามสูรจับพระอรชุนจับฟาดกับเหลี่ยมเขา สุครีพได้อาสาดึงเขาพระสุเมรุให้ตรงโดยการใช้นาคมาฟั่นเป็นพวนฟันรอบเขา แล้วใช้มือจี้สะดึือพญานาค เพื่อให้พญานาคบิดตัวดึงเขาพระสุเมรุให้ตั้งตรงขึันมาได้

ตามศาสนาำพราหมณ์ได้แบ่งขั้นตอนการตำเนินชีวิตของมนุษย์ออกเป็น ๔ ขั้นตอน ตามวัยของผู้ปฏิบัติ เรียกว่า อาศรม ได้แก่
๑.พรหมจรรยะ ขั้นการศึกษาเล่าเรียนเรียกผู้อยู่ในขั้นนี้ว่า พรหมจารี
๒.คฤหัสถยะ   ขั้นตอนการครองเรือน เรียกผู้อยู่ในขั้นนี้ว่า คฤหัสถ์
๓.วานปรัสถยะ ขั้นการสละบ้านเรือนออกไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า  เรียกผู้อยู่ในขั้นนี้ว่า  วานปรัสถ์
๔.สันนยาสะ ขั้นการสละโลกีย์ทั้งปวงโดยการออกบวช เรียกผู้อยู่ในขั้นนี้ว่า สันนยาสี

ขั้นตอนทั้ง ๔ นี้จะต้องผ่านขั้นหนึ่งก่อนจึงจะก้าวไปสู่อึกขั้นหนึ่งได้  เมื่อพันการครองเรือนแล้ว จึงเข้าสู่การสละบ้านเรือนไปจำศึลภาวนา ไม่กลับมาสู่การเป็นผู้ครองเรือน ครั้นพุทธกาลล่วงมานานทำให้ภิกษุที่บรรลุถึงที่สุดของกิจบรรพชิตมีน้อยลง แต่มีผู้เข้าบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วลาสิกขาหรือสึกออกไปเป็นผู้ครองเรือนมีมากขี้น การลาสิกขาหรือสึกออกมาต้องมีเหตุผลในการสึก จึงมีการแต่งเรืองขึ้นมา ว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่ครั้งพญานาคแปลงตัวเป็นมนุษย์มาบวช เมื่อเป็นพญานาคซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้ออกจากเพศบรรชีตได้ การที่พระภิกษุลาสิกขาออกมาเป็นผู้ครองเรือนถือว่า เป็นผู้ตกตำ่ในคุณธรรม โดยสมมุตว่า พญานาคเป็นสัตว์เดรัจฉานจึงต้องลาสิกขาออกเป็นคฤหัสถ์ ซึ่งถือว่าเป็นหินชาติ เพราะคำว่าคฤหัสถ์แปลว่าผู้ต่ำช้า การบวชนาคจึงเป็นเรื่องที่เจ้าภาำพบอกกล่าวให้ทราบล่วงหน้าว่า การบวชลูกหลานที่เป็นนาคนี้เป็นการบวชแล้วสึก คือบวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยแล้วจะลาสิกขาออกมาเป็นผู้ครองเรือน ไม่ได้บวชไม่สึกเพื่อหวังมุ่งสู่นิพพาน

เรื่องพญานาคมีปรากฎตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ที่ไม่เคยศึกษาพระไตรปิฎกและปฏิบัติธรรมไม่ถึงขี้นได้
อภิญญา ย่อมไม่เชื่อเรื่องพญานาค คิดว่าเป็นนิทานชาดก ชาวบ้านเชื่อว่าใต้พื้นดินลงไปนอกจากจะมีนรกแล้ว ยังมีเมืองบาดาลเป็นที่อยู่อาศัยของพวกยักษ์ กุมภัณฑ์ และนาคหรืองูใหญ่มีอิทธิฤทธิ์สามารถเนรมิตร่างกายให้เป็นตามความต้องการได้ พญานาคในเมืองบาดาลอยู่ในความดูแลของท้าววิรูปักษ์มหาราช อธิบดีปกครองเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก

ตามคติของคนไทยงูเป็นบริวารของพญานาค ในบางแห่งเรียกงูหงอนเพราะมีหงอนที่หัว ประวัติ
ของอนันตนาคราขตามแบบฉบับของไทยกล่าวไว้ว่า "พระอิศวรผู้เป็นเจ้าจึงเปลี้องสายชำร่ำออก บันดาลให้เป็นพระอนันตนาคราชมีศักดานุภาพยิ่งนัำ" แสดงว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างอนันตนาคราชจากสายชำร่ำ  ซึ่งก็คือสายธุรำหรือธุหร่ำ สายสังวาลที่พวกพราหมณ์ใช้ ในอินเดียนับถืออนันตนาคราชหรือเศษนาค ( อ่านว่า เศ-ษะ -นาค) กันมาก พิธีบูชานาคนี้มักจะทำกันในระหว่างเดือนกรกฎาคม (เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ)

การนับถือพญานาค ในประเทศลาวจะมีพิธีเกี่ยวกับนาคด้วย ในพิธี ๑๒ เดือนหรือฮีดสิบสอง ของชาวเวียงจันทน์และชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย กล่าวว่า เดือนสิบสองล่วงฮือบูชาอุสุนาค ๑๕ ตระกูล พิธีนี้มีท้า่วพญาร่วมจัดทำด้วย กำหนดทำพิธีในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ต้องพิธีนี้ต้องให้เรือแห่ไปกับการลอยกระทง เรียกว่า การฉลองพญานาค ๑๕ ตระกูล แต่ในหนังสือบางเล่ม เขียนบอกว่าบูชานาคเพียง ๗ ตระกูล  ในสมัยโบราณชาวเวียงจันทน์ หลวงพระบาง เชียงแสน เชียงรุ้ง นับถือนาคราชทั้ง ๗ ตระกูลมาก เล่ากันว่า ในสมัยก่อนนาคได้มาช่วยพวกลาวาต่อสู้กับไทยโดยแปลงกายเป็นมนุษย์  ภายหลังศรีธนญชัยได้ไปล่อลวงปิดรูที่นาคเคยใช้ขึ้นลง นับตั้งแต่นั้นมานารก็ไม่สามารถขึ้นมาช่วยชาวลาวได้อีก ซึ่งนาคทั้ง ๗ ตระกูล ได้แก่
๑.กุฏโฐบาปนาค (เอกจักบุนาค) เป็นนาคใจพาล ถ้าชาวเมืองไม่สักการะบูชามักจะบันดาลให้น้ำท่วมบ้านเมืองล่มจม
๒.หัตถึกุญชฏฐนาค
๓.สขารนาค
๔.ไชยเชฏฐนาค
๕.ปักธรนาค
๖.มูลนาค
๗.สุวรรณนาค

หน้าที่ของนาคแบ่งออกเป็น ๔ พวก คือ
๑.นาคสวรรค์ มีหน้าที่เผ้าวิมานเทวดา
๒.นาคกลางหาว มีหน้าที่ให้ลมให้ฝน
๓.นาคโลกบาล มีหน้าที่ปกปักรักษาแม่น้ำลำธาร
๔.นาครักษาขุมทรัพย์

ลักษณะและคุณสมบัติพญานาค
๑. ชลชพญานาค คือพญานาคที่เกิดอยู่ในน้ำ นาคพวกนี้เนรมิตตนได้แต่เมื่ออยู่ในน้ำ บนบกไม่สามารถเนรมิตตนได้ เวลาออกหากินก็สามารถแปลงเป็นสัตว์ต่างๆ ตามแต่สะดวก
๒.ถลชพญานาค คือพญานาคที่เกิดบนบก พวกนี้เนรมิตกายได้เฉพาะบนบก

พญานาคถึงแม้จะแปลงกายให้เป็นคนได้แต่จะมีลักษณะอยู่ ๕ อย่างที่ไม่สามารถแปลงกายได้ คือ
๑.ในขณะปฏิสนธิ(เกิดอยู่)
๒.ในขณะกำลังลอกคราบ
๓.ในขณะเสพเมถุนอยู่
๔.ในขณะนอนหลับ
๕.ในขณะตาย

ฉะนั้นการพบเห็นพญานาค เป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล  นาคจะเข้าหามนุษย์ที่ดีและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพราะพวกพญานาคนั้นมีนิสัยรักสงบ ฝักไฝ่ธรรม มีจิตใจเมตตา แต่ก็เต็มไปด้วยฤทธิ์เดชที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียร ซึ่งฤทธิ์นี้จะมุ่งในการป้องกันมิใช่ทำลาย นาคมีภพภูมิเป็นทิพย์ และนาคสามารถบันดาลให้เกิด ให้เห็นสรรพสภาวะเหนือโลกได้เอนกประการ ประชากรของนาคก็มีจำนวนมาก การดำรงชีพก็ไม่แตกต่างจากมนุษย์  คือ มีที่อยู่อาศัย มีทรัพย์สมบัติเครื่องประดับ

ความหมายของคำว่า "อภิญญา" คือ อภิ+ปัญญา (อภิ แปลว่า ยิ่ง , ปํญญา แปลว่า ความรู้)
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงกว่าเหนือปกติ เป็นความรู้ที่พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น