วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี







พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี  จันทบุรี
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 กรมศิลปากรได้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทางด้านโบราณคดีใต้น้ำ  ได้มีการดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ แต่ละแห่งในท้องทะเลไทย  ทำให้มีจำนวนโบราณวัตถุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำงานโบราณคดีใต้น้ำ และประวัติศาสตร์การพิชย์นาวีของไทย อีกทั้งได้มีงานที่จับกุมชาวต่างชาติที่เข้ามาทำการลักลอบงมโบราณวัตถุใต้ทะเลฝั่งอ่าวไทย ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่พบจากท้องทะเล  ซึ่งโบราณวัตถุที่ค้นพบนี้เป็นหลักฐานที่ช่วยในการสืบค้นความเป็นมา และบอกเล่าเรื่องราวทางเศรษฐกิจการพาณิชย์นาวีของไทยในอดีต

แหล่งทึ่ค้นพบโบราณคดีใต้น้ำที่สำคัญของจันทบุรี อยู่ในอ่าวบางกะไชย อ.แหลมสิงห์ ได้ค้นพบซากเรือสำเภาโบราณ 2 ลำ  อยู่ในระดับลึก 8 เมตร ห่างจากฝั่ง 2 กิโลเมตร ซากเรือสำเภาถูกค้นพบเมื่อเดือนธันวาคม  พ.ศ.  2534 และทำการขุดค้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536  ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537
ในตัวเรือพบโบราณวัตถุจำนวนมาก มัทั้งที่เป็นสินค้าบรรทุกมาในระวางเรือ เป็นก้อนทองแดง-ดิบ ไม้แดงที่ใช้สำหรับย้อมสี หมากดิบและข้าวของเครื่องใช้ประจำเรือ ได้แก่ เครื่องถ้วยลายครามของจีน เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณที่แม่น้ำน้อย สิงห์บุรี จากแหล่งเตาเผาโบราณที่บ้านบางปูน สุพรรณบุรี และแหล่งเตาปะขาวหาย พิษณุโลก นอกจากนั้นยังมีเครื่องใช้ประเภทก้างปลา เปลือกไข่ ฯลฯ
อายุของซากเรือได้เปรียบเทียบกับเครื่องถ้วยจีนที่พบในซากเรือ  จัดอยู่สมัยพระเจ้าหวั่นหลีแห่งราชวงศ์ เหม็ง(พ.ศ. 2115-2163) และตัวอักษรจีนที่พบบนเครื่องคันชั่งเป็นปีจอในรอบนักษัตรของจีนตรงกับปี พ.ศ. 2153  ตรงกับสมัยรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถของไทย



การจัดตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวีของจันทบุรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2544

ภายในห้องพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวร 6 ห้อง ดังนี้
1.ห้องจัดแสดงสินค้าและวิถีชีวิตชาวเรือ จัดแสดงเกี่ยวกับการพาณิชย์ในสมัยโบราณ เส้นทางการเดินเรือ เมืองท่าโบราณสินค้า โดยใช้เรือสำเภาจำลองขนาดเท่าของจริง จำลองสภาพสินค้า ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ในเรือ มีการจัดแสดงของมีค่า เช่น จี้ทองคำฝังพลอยแดง และกำไรทองคำ ซึ่งพบจากแหล่งบริเวณซากเรือที่จมในบริเวณอ่าวไทย

ด้านหน้าหัวเรือ จะเขียนรูปราหู เพราะเขามีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจ เรือที่จัดแสดงมีขนาดเท่าของจริง

ตาของเรือสำเภาสำหรับการเดินเรือสำหรับขนส่งสินค้า ตาจะมองไปข้างหน้า  ถ้าตาของเรือประมงจะมองลงล่าง ส่วนตาของโจรสลัดตาอีกข้างหนึ่งจะคาดตาไว้


ปืนใหญ่ที่อยู่ในเรือสำเภาจะมีแค่ 3 กระบอก สำหรับลำขนาดนี้

สินค้าที่ไว้ในท้องเรือ

พวกไห 4 หู และเครื่องถ้วยชามที่จะขนส่ง วัตถุที่แสดงเป็นของจริง

ที่นอนสำหรับลูกเรืออยู่ใตท้องเรือ

จุ่นจู๊ เป็นตำแหน่งกัปตันของเรือสำเภา ไม่ไช่ไต๊ก๋ง ซึ่งใต๊ก๋งจะเป็นคนบังคับหางเสืออยู่ท้ายเรือ

การทำอาหารบนเรือ

คนงานแบกของบนเรือ

คนงานที่ทำหน้าที่กางใบเรือ

ด้านท้ายเรือมีชื่อเรืออยู่ ชื่อบรรพวิน  ชื่อนี้แล้วแต่เจ้าของเรือจะตั้ง


2.ห้องแนะนำปฏิบัติการโบราณใต้น้ำจัดแสดงเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานของงานโบราณคดีใต้น้ำโดยจำลองสภาพจริงของแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ วิธีการทำงาน ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริง




3.ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ จัดแสดงให้เห็นถึงการเก็บรักษาโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์โดยบางส่วนของห้องคลังเป็นผนังกระจกทำให้ผู้เข้าชมได้มองเห็นการจัดเก็บโบราณวัตถุภายในห้องคลังได้
4.ห้องแสดงเรือและชีวิตชาวเรือ จัดแสดง ชนิด และแบบของเรือต่างๆ ที่มีใช้ในประเทศไทยโดยการใช้เรือจำลองย่อส่วนตามจริง








5.ห้องแสดงของดีเมืองจันทบุรี  จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจันทบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ การก่อตั้งเมือง เหตุการณ์สำคัญและเรื่องราวของชาวพื้นเมืองของจันทบุรี นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ รวมทั้งของดีมีชื่อเสียงของจันทบุรี

พลอยของดีเมืองาจันท์

เสื่อจันทบูรของดีเมืองจันท์

6.ห้องบุคคลสำคัญ จัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับการทำสงคราม เมื่อคราวเสียกรุงอยุธยา ครั้งที่ 2 รวมทั้งเส้นทางการเดินทัพเมื่อคราวพระเจ้าตากสินมารวมพลที่จันทบุรี เพื่อเชิดชูพระมหาวีรกรรมของพระองค์
การจัดแสดงเข้าตีเมืองของจันท์ของพระเจ้าตากสิน

การจัดแสดงที่เข้าตีที่ค่ายโพธิ์สามต้น

การจัดแสดงเรือกลับอยุธยาเพื่อกู้เอกราช
การขุดเรือทำจากต้นตะเคียนเมื่อได้แบบที่ต้องการแล้วจะเอาฟางมาสุมไว้ตรงกลางเพื่อขยายตัวเรือให้ได้ตามต้องการ

การเล่นหมากขุม

ถ้าผู้เข้าชมมีเวลาพอก็นั่งเล่นเกม หมากขุม ฝึกสมองและนั่งพัก
เป็นกีฬาพื้นเมืองประเภทกีฬาในร่ม นิยมเล่นกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา วิธีการเล่นก็แตกต่างกันออกไป หมากขุมนิยมเล่นกันที่ภาคใต้ของประเทศไทย ชาวใต้ เรียกว่า "หมากขุม" หรือ "หมากหลุม"  เป็นกีฬาที่แข่งความสามารถเฉพาะตัว ช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกสมอง ฝึกการคิดคำนวณและช่วยสร้างความคุ้นเคยกัน
อุปกรณ์หมากขุมและลูกหมากขุม นิยมใช้เมล็ดสวาด ซึ่งมีลักษณะกลมรี เปลือกแข็งมีสีเทาเจือเขียว อาจใช้เมล็ดพืชอย่างอื่นที่มีขนาดและลักษณะใกล้เคียงกันได้ เช่น เมล็ดมะขามสุข บางทีก็ใช้ดินเหนียวทำเป็นลูกธนูตากแห้ง แต่ไม่นิยมเพราะไม่ทนและเปื้อนมือง่าย ปัจจุบันนิยมใช้ลูกแก้วแทน
ลูกหมากอาจเมล็ดสวาด ลูกหยาง ดินเหนียวปั้น

หมากขุม 7 หลุมในตัวเมืองมีลูกหมาก ึ 7 ลูก

หมากขุม 9 หลุม ในตัวเมืองมีลูกหมาก 9 ลูก

วิธีการเล่น
1.ผู้เล่น 2 คนนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก(รางหมากขุม 7 หลุม) ทั้ง 7 หลุม (ยกเว้นหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่)
2.การเดินหมาก ให้เดินจากขวาไปซ้าย อาจเริ่มเล่นพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่า "แข่งเมือง" หรือให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มเล่นก่อน โดยเริ่มจากการหยิบหมากจากหลุมใดก็ได้ ในด้านของตนเองขึ้นมาทั้งหมด จากนั้นทิ้งลูกหมากลงในหลุมถัดไปหลุมละหนึ่งเม็ด เมื่อหมากตัวสุดท้ายตกลงหลุมใด ก็หยิบหมากจากหลุมนั้นขึ้นมาให้หมดแล้วเดินต่อไป จนกระทั่งหมากตัวสุดท้ายตกไปในหลุมว่างของฝ่ายตรงข้าม ถือว่า "ตาย"  กรณีที่หมากตัวสุดท้ายตกในหลุมว่างในแดนตนเอง ถ้าหลุมตรงข้ามมีหมากในหลุมก็ให้เอาหมากในหลุมที่ตายของตนเองและหลุมตรงข้ามใส่ในหลุมหัวเมืองของตนเอง เรียกว่า "กิน" ถ้าหมากตัวสุดท้ายของตนเองตกในหลุมหัวเมืองให้เริ่มต้นเดินใหม่จากหลุมใดก็ได้ในด้านของตนเอง เล่นจนหลุมเมืองของฝ่ายหนึ่งหมดหมากเดินต่อไปไม่ได้ จึงเริ่มเล่นตาต่อไป
การเล่นในแต่ละครั้งเรียกว่า "ตา" ตาถัดไปให้นำหมากในหลุมเมืองของแต่ละฝ่ายใส่ในแดนของตัวเรา  ต่างกันการเล่นครั้งแรกที่ตัวหมากไม่ครบในแต่ละหลุมทำให้หลุมนั้นเป็นหลุมว่าง เรียกว่า "เป็นหม้าย" หลุมหม้ายนั้นเริ่มจากหลุมที่อยู่ห่างจากหลุมเมืองมากที่สุด ทั้ง 2 ฝ่ายเล่นจนกระทั่งฝ่ายหนึ่งเป็นหม้าย ตั้งแต่ 1 หลุม 2 หลุม จนเป็นหม้ายหมดทุกหลุม เป็นอันยุติการเล่น แสดงถึงการแพ้ชนะอย่างสมบูรณ์ 
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี
ตั้งอยู่เลขที่ 80 หมู่ 8 ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
โทรศัพท์ 039-391431
เปิดทำการวันพุธ วันอาทิตย์  เวลา 9.00 – 16.00  น.
ปิดวันจันทร์,วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น