วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียน นั้นสำคัญไฉน



ประชาคมอาเซียน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความสำคัญและเป็นที่รู้จักทั้งซีกโลกตะวันออกและซึกโลกตะวันตก ตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรที่สำคัญ ได้แก่ อินเดียและจีน จึงได้รับอิทธิพลทางสังคมและวัฒนธรรม จากอาณาจักรทั้งสองแห่ง ดินแดนแห่งนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ปรากฏ ดินแดนแห่งลมมรสุม เนื่องจากดินแดนแห่งนี้มีลมมรสุมพัดผ่าน ซึ่งใช้ในการเดินทางทางเรือ
เอเชียใน หรือ เอเชียกลาง มีที่มาจากที่ตั้งซึ่งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน แต่ชื่อเรียกที่เป็นทางการในปัจจุบัน คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2  ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตั้งฐานทัพในบริเวณนี้ เพื่อรบกับญี่ปุ่น ซึ่งระบุพิกัดตามหลักภูมิศาสตร์ จึงเป็นที่มาของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยมีประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ร่วมกันก่อตั้ง สมาคมอาสา –ASA (Association of Southeast Asia)”   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศมาเลเซียซึ่งป็นสมาชิกกับประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้สมาคมนี้ต้องหยุดชะงักลง


ต่อมาเมื่อประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันแล้ว ประเทศในส่วนภูมิภาคนี้จึงพยายามได้ก่อตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศภายในภูมิภาคขึ้นมาอีกครั้ง  และแล้วในวันที่  8 สิงหาคม พ.ศ.  2510  สมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีการจัดประชุมที่กรุงเทพฯ และมีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพฯ  (Bangkok Decharation)  ที่วังสราญรมย์ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและสิงคโปร์  การลงนามในครั้งนี้ก่อให้เกิด   สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -ASEAN (Association of Southeast Asian Nations)”

ในปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดตั้ง ASEAN  ได้  7 ประการดังนี้
1.ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม           เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2.ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3.เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4.ส่งเสริมให้ประชาชนใน อาเซียน มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5.ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย ส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6.เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและคมนาคม
7.เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียกับภายนอกประเทศ องค์การ ความร่วมมือ เพื่อภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ

ในเวลาต่อมาได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกดังนี้ บรูไนฯ เมื่อวันที่  8 กรกฎาคม พ.ศ.  2527  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วันที่  28 กรกฎาคม พ.ศ.  2538  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศสหภาพพม่า วันที่  23 กรกสฎาคม พ.ศ.  2540  และราชอาณาจักรกัมพูชา วันที่  30 เมษายน พ.ศ. 2542
สรุปในปัจจุบัน ASEAN มีสมาชิกทั่งหมด  10  ประเทศ ได้แก่

 





ประเทศบรูไนดารุสซาลาม มีภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น การปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ภาษามาเลย์เป็นภาษาหลัก

สหราชอาณาจักรกัมพูชา มีภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนและแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน การปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ใช้ภาษากัมพูชาเป็นภาษาหลัก




สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีภูมิอากาศเป็นแบบป่าดิบชื้น การปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ใช้ภาษาอาข่า อินโดนีเซีย

 








สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ใช้ภาษาลา
วเป็นภาษาหลัก







สหพันธรัฐมาเลเซีย ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น การปกครองแบบประชาธิปไตย ใช้ภาษามาเลย์ เป็นภาษาหลัก


สหภาพพม่า มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน การปกครองแบบเผด็จการทหาร ใช้ภาษาพม่าเป็นหลัก

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น การปกครองแบบประชาธิปไตย  ใช้ภาษาฟิลิปปินโนนและอังกฤษ

สาธารณรัฐสิงคโปร์ การปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ใช้ภาษามาเลย์ อังกฤษ ทมิฬ จีน

อาณาจักรไทย ภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนและแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ใช้ภาษาไทย



สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม มีภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนและแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ใช้ภาษาเวียดนาม



สัญลักษณ์ ASEAN  คือตันข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
      สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ และความมั่นคง
      สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
      สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
      สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


ประชาคมเอเซียน มีนโยบายหลัก 3 ประการ คือ
1.เรื่องประชาคมการเมืองและความมั่นคง –ASC (ASEAN Security Community)
2.เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน-AEC  (ASEAN Economic Community)
3.เรื่องประชาคมสังคมหรือวัฒนธรรม-ASCC (ASEAN Socio-Outtural  Community)

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานองอาเซียน
1.    สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจากาตาร์ประเทศอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน(ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันเป็นคนไทย คือ คุณสุรินทร์ พิศสุวรรณ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2.    สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศ สมาชิกอาเซียนมีหน้าที่ประสานกิจการในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียนกระทรวงต่างประเทศ


การประชุมครั้งที่ ๑๙ จัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้จัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือ ASEAN University Network  (AUN) ตั้งขึ้นเพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาค โดยประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง และพร้อมเสนอให้ก่อตั้ง มูลนิอาเซียน  ASEAN Foundation  เพื่อส่งเสริมแลกเปลี่ยนนักศึกษนและนักวิชาการ ตลอดจนมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ในปี พ.ศ. 2535 อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน  ได้เสนอให้ก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) เพื่อลดภาษีศุลกากรซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้าและดึงดูดการลงทุนต่างประเทศ นำไปสู่การขยายความร่วมมือที่ชัดเจน ในการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน หรือ  ASEAN Investment Area (AIA)

          ASEAN  10 +3 (จีน ,เกาหลีใต้และญี่ปุ่น)









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น