วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วัดทองทั่วเป็นวัดเก่าแก่ของจันทบุรี




วัดทองทั่ว
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจังหวัดไปทางทิศตะวันออกไป 5 กิโลเมตร
มีตำนานเรื่องราวก่อนสร้างวัด ก็คือ สมัยก่อนมีวัดอยู่วัดหนึ่งอยู่ห่างจากวัดทองทั่วไปทางทิศใต้ราว 400 เมตร ชื่อว่า วัดเพนียด ต่อมาวัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้าง และต่อมาได้สร้างวัดขึ้นใหม่ ชื่อว่า วัดทองทั่ว ซึ่งชื่อวัดมาจากตำนานเมืองกาไว ที่ว่าพระนางกาไวจะหนีแล้วหว่านทองไปทั่วเพื่อให้ทหารฝ่ายศัตรูมัวพะวงเก็บทองจะหนีได้สะดวก
ประวัติการสร้างวัดทองทั่วไม่มีหลักฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าอาจสร้างในยุคที่เมืองจันทบุรียังตั้งอยู่ในแถบนี้ สร้างโดยเจ้าผู้ครองนคร องค์ใตองค์หนึ่ง  
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่
ใบเสมา เป็นหลักเขตแดนที่พรเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานที่ถวาย สำหรับให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรม เช่น ลงพระอุโบสถ  ฟังพระปาฏิโมกข์ อุปสมบท กรานกฐิน ตามหลักของพระธรรมวินัยสงฆ์ ใบเสมารอบพระอุโบสถหลังเก่าของวัดทองทั่วเป็นใบเสมาคู่ ซึ่งในจันทบุรีมี 2 วัดที่มีใบเสมาคู่ คือ วัดทองทั่ว และ วัดกลาง ลักษณะใบเสมาคู่เป็นศิลปะจัดอยู่ในสมัยอยุธยา หรือ อาจเป็นศิลปะศรีวิชัย ในใบเสมามีดอกบัว 2 ดอก แยกออกซ้ายขวา



 อุโบสถหลังเก่า กรมการศาสนาออกหนังสือสภาพวัด ได้ตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2318 อยู่ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร และศิลปะโครงสร้างเดิมก็เป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา  ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง) เป็นพระประธาน

หน้าพระอุโบสถหลังเก่า

สิงห์ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า

ภายในพระอุโบสถหลังเก่า

พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง)

เจดีย์  ภายในวัดมีเจดีย์อยู่ 2 องค์ รูปทรงลังกาเป็นรูปลักษณะที่นิยมในสมัยอยุธยา จึงสันนิษฐานว่า เจดีย์องค์แรก น่าจะสร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างวัด ซึ่งมีนางก๋วย เป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์สมัยพระอุปัชณาจี๊ด จันทสาโร
ส่วนอีกองค์ สร้างโดยนางขาว เอครพานิช องค์นี้สร้างในสมัยพระอุปัชณาจี๋ด จันทสาโร  เจดีย์องค์นี้คนแก่เล่าให้ฟังว่า ตอนที่ท่านยังเป็นเด็กจะเห็นเจดีย์แต่ไกล เพราะที่ปลายยอดเจดีย์มีลูกแก้วติดอยู่เวลาพระอาทิตย์ส่องจะสะท้อนแสงแวววาว และจะเห็นเจดีย์ขาวทั้งองค์เพราะในสมัยนั้นไม่ค่อยมีต้นไม้ ส่วนมากจะเป็นทุ่งนาและสถานที่ตั้งวัดเป็นที่ดอน

เจดีย์องค์แรก



เจดีย์องค์ที่สอง


ธรรมาสน์ 
ใช้สำหรับแสดงพระธรรมเทศนา สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2467 ในสมัยพระครูโสภณสมณวัตร (ท่านพ่อฟู โสรโต)   ผู้สร้างคือนายรุนผัว เสมพัณญา และ นายมันผัว แดงไคร้เมีย เป็นไม้สักทั้งหลังแกะสลักลวดลายงดงาม กรมศิลปากรได้ขึ้นเป็นโบราณวัตถุ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2537


ตู้พระไตรปิฎก    ตู้พระไตรปิฎกมีลายรดน้ำปิดทอง ลักษณะทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เรียกว่า ตู้พระไตรปิฎก หรือตู้พระธรรมมีชั้นวางหนังสือได้  2 ชั้น 

หีบเก็บรักษาคัมภีร์ เป็นหีบคัมภีร์ขนาดใหญ่ รูปลักษณะสี่เหลี่ยมคางหมู ปากกว้างแล้วสอบลงล่าง มีขาตั้งในตัว มีฝาหีบที่แกะสลักลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และมีลายเทพพนม เป็นฝึมือช่างในสมัยอยุธยา มีความเก่าแก่กว่าตู้พระธรรมลายทอง อายุประมาณราว 300  ปี ปัจจุบันฝาปิดด้านบนได้หายไป และส่วนฐานด้านล่างได้ถูกปลวกกัดกิน
หีบพระธรรมหรือหีบพระมาลัย เป็นหีบสำหรับใส่หนังสือพระอภิธรรมและพระมาลัย เวลามีงามศพนำไปตั้งบูชาตอนพระสงฆ์สวด เรียกว่า พระสวดพระอภิธรรม เมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว ชาวบ้านที่จะอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพ ก็จะนำหนังสือเล่มนี้มาสวดกันเรียกว่า สวดพระมาลัยในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงมนุษย์ตอนยังมีชีวิตอยู่ได้ทำบาปกรรมต่างๆ เมือตายก็ต้องไปเสวยผลบาปกรรมที่ทำไว้ จะสวดเป็นภาษาไทยร้อยกรอง เป็นทำนองที่ไพเราะ หีบพระธรรมนี้เป็นฝีมือช่างยุดตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใบหนึ่งเป็นลายรดน้ำปิดทองกนกเปลวเพลิง มีรูปเทวดา 3 องค์ อีกใบเป็นรูปเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นลายรดน้ำปิดทอง อายุประมาณ 200  ปี

สิงห์อยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า เป็นศิลปะขอมในสมัยก่อนฝังในดิน สร้างในสมัยเมืองโบราณ มีประมาณ 4  -  8  ตัว ปัจจุบันเหลือแค่ตัวเดียว  และสิงห์ตัวนั้มีเรื่องเล่าของชาวบ้านสมัยก่อนว่าเป็นสิงห์ที่ดุร้ายชอบออกอาละวาดมาเหยียบต้นข้าวที่ชาวบ้านปลูกไว้เสียหายเป็นประจำ  ในสมัยโบราณตอนสร้างใต้ท้องสิงห์ไม่ได้มีรู แต่คราวที่ฝรั่งเศสมายึดเมืองจันทบุรีและได้ยินที่ชาวบ้านบอกถึงตำนานที่สิงห์ออกอาละวาดจึงเอาปืนยิงไปใต้ท้องสิงห์เพื่อพิสูจน์ว่าใต้ท้องสิงห์มีสิ่งใดซ่อนอยู่หรือไม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น