วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติสิ่งมีค่าที่ควรปกป้อง


ในสภาวะปัจจุบัน โลกประสบวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติโดยทำลายอย่างมากทำให้โลกขาดความสมดุล ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์  เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม พายุถล่ม เกิดภัยธรณีพิบัติ เป็นต้น  พวกเราต้องหันมาให้ความสนใจและปกป้องธรรมชาติให้มากขึ้นกว่าเดิม และยิ่งกว่านั่นอุทยานแห่งชาติที่เรามีอยู่ในปัจจุบันโดนบุกรุกทำลายกันมากขึ้นด้วย











ในสมัยโบราณการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในโลกนี้เกิดมาจากความคิดอยู่  2 ประเด็น  คือ
ประเด็นแรก คือ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โดยใช้สวนสาธารณะหรือพื้นที่ส่วนรวม เมื่อประมาณ 3.000  ปี ในประเทศอินเดียได้จัดตั้งป่าอิสิปตนมฤคทายวันหรือสวนกวางที่อยู่เมืองพาราณสี  เพื่อใช้เผยแผ่พระพุทธศาสนาและใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ  ต่อมาในปี พ.ศ. 252 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงเห็นชอบให้สงวนพันธุ์สัตว์  ปลา และป่าไม้ และที่ประเทศจีนเมื่อหลายร้อยปีก่อนก็มีสวนกวางไว้ขยายพันธุ์และเป็นที่พักผ่อนของประชาชน ยังมีในกลุ่มประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย สมัยกรีก บาบิโลน สมัยโรมัน ก็สวนสาธารณะไว้พักผ่อน

ประเด็นที่สอง เป็นพื้นที่สงวนของผู้ปกครองนครไว้ใช้ในการล่าสัตว์ นันทนาการและใช้เพื่อแสดงฐานอำนาจของผู้ครองนครสมัยกลางยุโรป ทำให้เกิดแนวคิดของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นมา

ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มทำอย่างจริงจังและเป็นระบบ เมื่อประมาณ 100 กว่าปีมานี้ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นได้มีการสำรวจและบุกเบิกดินแดนทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเพื่อการตั้งถิ่นฐานและขยายพื้นที่เพาะปลูก และเพื่อความรู้ในดินแดนที่ยังไม่มีการบุกเบิก ในการสำรวจครั่งนี้ทำได้พบกับภูมิประเทศที่งดงามหลายแห่ง แต่ก็ได้ทำให้ป่าถูกบุกรุกและโดนทำลายจากการขยายถิ่นที่อยู่อาศัยและการขยายพื้นที่เพาะปลูก

จนปี พ.ศ. 2375 นักวาดภาพชื่อ George Catlin  ชาวอเมริกาได้เดินทางไป  fort Plerre ปัจจุบันคือมลรัฐ  South Dokota เพื่อวาดภาพเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ แต่กลับพบว่าชาวอินเดียแดงได้หายไปจากที่ราบดังกล่าว เพราะถูกบุกรุก เขาได้เขียนบทความลงวารสารและเสนอแนะให้รัฐบาลให้อนุรักษ์ชาวอินเดียแดงและธรรมชาติ
การดำเนินการสงวนคุ้มครองพื้นที่เพื่อประโยชน์ด้านนันทนาการแก่ประชาชนได้กำเนิดขึ้น ณ บริเวณพื้นที่น้ำพุร้อน  ในมลรัฐ  Arkansas ประเทศสหรัฐฯ เก็บไว้เพื่อประโยชน์ทางด้านสังคม(ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.  2464) จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้สหรัฐฯ เป็นผู้นำการพัฒนาความคิดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย  ตามบันทึกประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีของไทยราว พ.ศ.1782-1981 พระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้นได้ปรับปรุงเขตพระราชฐานชั้นนอกให้เป็นอุทยานเรียกว่า ดงตาล เพื่อการพักผ่อนส่วนพระองค์และข้าราชบริพาร และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ทำให้เกิดอุทยานขึ้น แต่อุทยานดงตาลจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ได้เป็นแบบอนุรักษ์คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในประเทศไทยได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2486 โดยกรมป่าไม้ได้จัดตั้งป่าภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้จัดตั้งเป็นวนอุทยานเป็นแห่งแรก โดยมีแนวคิดจะจัดตั้งเป็นอุทยานแต่ไม่มีงบประมาณ จนต่อมาในสมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนครี ได้ประชุมปรึกษาและลงมติเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2502 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติขึ้น เพื่อจัดทำโครงการและดำเนินงานเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เป็นประธาน คณะกรรมการโดยตำแหน่งมี อธิบดีกรมป่าไม้ กรมที่ดิน  ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสมาคมโรงแรม และกรรมการผู้ส่งเกียรติได้รับแต่งตั้งมี นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล  นายเล็ก จุณณานนท์  พลตรีเสถียร พจนานนท์ พันเอกหลวงวิจิตร วาทการ พันเอกทวนชัย สาริกขกานนท์ และนาวาโทประสาท พรหมประวัติ รน.
คณะกรรมการฯ ได้เลือกให้หัวหน้ากองบำรุงกรมป่าไม้ เป็นเลขาของคณะกรรมการโดยตำแหน่ง  ผลของการประชุมของคณะกรรมการได้ได้กำหนดให้คัดเลือกพื้นที่ป่าเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติรวม 14 แห่ง มีดังนี้

ป่าทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลกและ จ.เพชรบูรณ์











ป่าภูกระดึง จ.เลย

                                                                                                                               







ป่าเขาใหญ่ จ.นครนายก จ.นครราชสีมา จ.สระบุรีและจ.ปราจีนบุรี






















ป่าดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่





ป่าน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์


ป่าดอยขุนตาล จ.ลำพูน และ จ.ลำปาง


ป่าลานสาง จ.ตาก


ป่าเขาสระบาป  ป่าเขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี


ป่าเขาภูพาน จ.สกลนคร


ป่าเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์


ป่าเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช และ จ.สุราษฎร์ธานี

โดยมี DR. George Ruhle  เจ้าหน้าที่คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติมลรัฐ Hawail  ให้คำแนะนำและวางแนวทางดำเนินการทั้งเรื่องอุทยานแห่งชาติและการคุ้มครองสัตว์ป่า เมื่อกำหนดพื้นที่แล้ว กระทรวงเกษตรเสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อขอจัดสรรที่ดินในป่าทั้ง  14 แห่ง  กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ แต่ในขณะนั้นยังไม่มีพระราชบัญญัติว่าด้วยอุทยานแห่งชาติสำหรับใช้ในพื้นที่ มีเพียงพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า โดยมีป่าภูกระดึงได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นป่าสงวนไว้แล้ว ส่วนอีก 13  แห่ง กระทรวงเกษตรได้ใช้อำนาจพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า แต่ป่าดอยอินทนนท์,ป่าทุ่งแสลงหลวง,ป่าเขาใหญ่และป่าเทือกเขาสลอบ ถูกบุกรุกแผ้วถางป่าเป็นจำนวนมาก กระทรวงเกษตรจึงขอความร่วมมือไปยังกระทรวงมหาดไทย ให้ใช้อำนาจตามมาตรา  9(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินออกประกาศหวงห้ามพื้นที่ป่าทั้ง 4 แห่ง เพื่อป้องกันการบุกรุกไว้ก่อน
ในปี พ.ศ.  2502 กระทรวงเกษตรได้สั่งการให้จังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการประกาศอุทยานแห่งชาติทั้ง  13 แห่ง (ยกเว้นภูกระดึง) แต่งตั้งกรรมการทำการสำรวจสอบสวนพิจารณาเขตป่าเพื่อกำหนดเป็นป่าสงวน พร้อมทั้งสั่งให้จังหวัดและดำเนินการตามคำแนะนำของคณะที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล 2 ประการคือ
ประการแรก ให้รัฐระงับการออกใบอนุญาตให้ทำไม้ หรือเก็บหาของป่าทุกชนิดในเขตป่าที่๗กำหนดให้เป็นป่าสงวนเสียทั้งสิ้น ในกรณีที่ได้ออกใบอนุญาตไปก่อนแล้ว เมื่อใบอนุญาตได้สิ้นอายุแล้ว ห้ามมีการให้ต่อใบอนุญาตไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
ประการที่สอง ให้สั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจคราและรักษาตลอดจนป้องกันปราบปรามผู้ละเมิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้แห่งนี้โดยใกล้ชิด หากว่ามีผู้ฝ่าฝืนให้ดำเนินคดีแก่ผู้ฝ่าฝืนโดยเฉียบขาดและให้นำคดีขึ้นสู่ศาลทุกราย
เมื่อวันที่  22 กันยายน พ.ศ. 2504 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันที่ 4 ตุลาคม  พ.ศ.  2504 หลังจากนั้นได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้พื้นที่ต่างๆ เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2505




สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติของโลก(The World Conservation Union)-IUCN ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า อุทยานแห่งชาติ ไว้ดังนี้ พื้นที่ที่ธรรมชาติทางบกและหรือทางทะเล ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองรักษาระบบนิเวศน์/ที่ปรากฏในพื้นที่เพื่อประชาชนรุ่นปัจจุบันและอนาคต เพื่อไม่มีการใช้ประโยชน์หรือเข้าครอบครองที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ และเพื่อเปิดโอกาสให้มีการประโยชน์ด้านวิจัย ศึกษาหาความรู้และนันทนาการที่กับสภาพวัฒนธรรมท้องถิ่น


พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ระบุว่า อุทยานแห่งชาติหมายถึง ที่ดินซึ่งรวมความทั้งพื้นที่ดินทั่วไป ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเล ที่ได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ...ลักษณะที่ดินดังกล่าว เป็นที่ที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจและมีได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใตซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง ทั้งนี้การกำหนดดังกล่าวก็เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติ เพื่อสงวนไว้ให้เป็นแหล่งการศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชนสืบไป
สรุปการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ
1.เพื่อคุ้มครองพื้นที่ธรรมชาติมีทรัพยากรธรรมชาติที่โดดเด่น และหาได้ยากในพื้นที่นั้น ซึ่งได้แก่ พืช สัตว์  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงาม สิ่งที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม มิให้เสื่อมสภาพลงไป  ฉะนั้น
จะต้องได้รับความคุ้มครอง จากกฎหมายโดยเฉพาะ และมีเจ้าหน้าที่บริหารงานอย่างเพียงพอ
2.เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของนักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เนื่องจากอุทยานแห่งชาตินั่น เปรียบเสมือนห้องเรียนกลางแจ้ง ซึ่งสามารถศึกษาค้นคว้า วิจัยได้โดยไม่สิ้นสุด  ฉะนั้น อุทยานแห่งชาติจะต้องมีบริการในด้านการศึกษา เช่น การบรรยาย ฉายภาพยนตร์ เอกสารเผยแพร่  ห้องสมุด เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาหรือสถาบันต่างๆ เพื่อศึกษาค้นคว้าวิชาการต่างๆ
3.เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน  โดยที่อุทยานแห่งชาติทั่วไปมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ซึ่งอาจจะเป็นทิวเขา ทะเลสาบ ทุ่งหญ้า  ถ้ำ หุบเหว  หน้าผา  เป็นต้น การพักผ่อนในอุทยานแห่งชาติกระทำได้โดยวิธีการต่างๆ เช่น การตั้งแคมป์พักแรม ดูสัตว์  ถ่ายรูป เดินป่า ชมทิวทัศน์ เป็นต้น ฉะนั้นอุทยานแห่งชาติจะต้องจัดการให้มีกิจกรรมทางนันทนาการ จัดให้มีความสะดวกในการคมนาคม สถานที่พักแรม ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 

สรุปอุทยานแห่งชาติมีค่าที่ประเมินมิได้ หาซื้อที่ใดก็ไม่มีถ้าเราไม่รักษ์ธรรมชาติ หรือ  สิ่งแวดล้อมลอบตัวเรา  ฉะนั้นเราทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์สิ่งที่มีค่านี้ไว้เพื่อตัวเรา ลูกหลานเราเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น