วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

เที่ยวเชียงใหม่ตามผังทักษาเมือง


     ผังเมืองเชียงใหม่และบางเมืองในล้านนา ผังเมืองเชียงตุง จะวางผังที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ เช่นพระราชวัง,บ้านขุนนาง,วัด,,ตลาด,เรือนจำและป่าช้า เป็นต้น โดยพิจารณาร่วมกับทักษาเมือง  คำว่า  ทักษา  หมายถึง ชื่อเรียกอัฐเคราะห์ (อาทิตย์,อังคาร,พุธ,เสาร์,พฤหัสบดี,ราหู,ศุกร์) มีชื่อเรียกว่า บริวาร,อายุ,เดช,ศรี,มูล,อุตสาหะ,มนตรีและกาลกิณี โดยเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘  คือ บูรพา,อาคเนย์,ทักษิณ,หรดี,ประจิม,พายัพ,อุดรและอีสาน

บริวารเมือง บริเวณประตูสวนดอก ทิศตะวันตก เป็นที่ตั่งบ้านเรือนของชาวเมือง และเป็นประตูที่ผ่านไปสวนดอกไม้ ของพระเจ้ากือนา  ซึ่งสร้างพระอาราม ใน พ.ศ.๑๙๑๔ เพื่อประดิษฐานพระสารีริกธาตุที่พระสุมนเถรนำมาจากกรุงสุโขทัย ตำนานสุวรรณคำแดง ว่า เวียง สวนดอกนี้มีมาตั้งแต่สมัยลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่

อายุเมือง บริเวณแจ่งหัวลิน  อายุเมือง หมายถึง เมืองจะมีอายุยืนยาวไม่เกิดภัยอันตรายต่างๆ ถ้าประชาชนทำผิดประเพณี เป็นสิ่งไม่ดีกับอายุเมือง เช่น ในสมัยพระมกุฎิวิสุทธิวงศ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายของเชียงใหม่ สมัยราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงอนุญาตให้ชาวเมืองนำศพออกทางประตูช้างเผือก  อ้อมผ่านแจ่งหัวสินซึ่งเป็นอายุเมือง ถือว่าไม่ดี เป็นการย่ำอายุเมือง ทำให้บ้านเมืองเสื่อม เสียเมือง แก่พม่าในที่สุด
แจ่งหัวลินอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีถนนสายห้วยแก้วผ่าน คำว่า ลิน หมายถึง รางน้ำ ฉะนั้นแจ่งหัวลิน หมายถึง มุมเมืองที่ต้นร่องน้ำที่ไหลเข้าไปหล่อเลี้ยงตัวเมือง




เดชเมือง  คือ ประตูหัวเวียง หรือ ประตูช้างเผือก นับเป็นประตูมงคล ในสมัยโบราณเมื่อกษัตริย์จะเสด็จขึ้นครองราชย์จะใช้ในงานพิธีราชาภิเษกโดยผ่านเข้าประตูช้างเผือก ต่อมาภายกลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประตูช้างเผือก ในสมัยพญาแสนเมืองมา  เพื่อเป็นการระลึกถึงมหาดเล็ก ๒ คน ที่ช่วยให้พระองค์ปลอดภัยในสงคราม ประตูนี้อยู่ทางทิศเหนือ


ศรีเมือง  เป็นบริเวณแจ่งศรีภูมิจะปลูกต้นไม้ประจำเมือง เรียกว่า ไม้ศรีเมือง  ในสมัยพญาติโลกราช โปรดให้ตัดไม้ศรีเมือง ทำให้บ้านเสื่อมในเวลาต่อมา อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ


มูลเมือง บริเวณประตูท่าแพ ซึ่งเดิมเรียกว่า ประตูเชียงรือก บริเวณนี้จะสร้างตลาดเพราะจะตรงกับมูล(มั่งคั่งร่ำรวย)  บริเวณนี้เป็นที่ตั่งตลาดชื่อ เชียงเรือก  ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน  ใกล้บ้านเชือกชุมชนโบราณของเมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประตูท่าแพชั้นใน ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ ส่วนประตูชั้นนอกนั้น ตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองชั้นนอก ต่อมาภายหลังได้ชำรุดผุผังไป คงเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน


อุตสาหะเมือง  บริเวณแจ่ง ขะค้ำ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้



มนตรีเมือง บริเวณประตูเชียงใหม่ หรือ ประตูท้ายเวียง ตั้งอยู่ทิศใต้ของกำแพงชั้นใน เป็นประตูที่ใช้เดินทางระหว่างเชียงใหม่และลำพูน



 
กาลกิณีเมือง บริเวณประตูสวนปรุงหรือประตูแสนปุง (แจ่งกู่เรือง) บริเวณนี้จะเป็น ประตูผี  และตำนานเขียนว่าเป็นที่ตั้งเรือนจำ(เรือนขัง) เพราะเป็นเขตอัปมงคลของเมือง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ประตูออกไปสู่สุสาน










   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น